การเสริมสร้างแนวปฏิบัติในการสังคมสงเคราะห์ของวัดในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
สังคมสงเคราะห์, วัดทางพระพุทธศาสนา, เครือข่ายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างแนวปฏิบัติในการสังคมสงเคราะห์ของวัดในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติด้านสังคมสงเคราะห์ของวัดในจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อสร้างและวิเคราะห์
เครือข่ายสังคมสงเคราะห์ของวัดในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพในภาคสนามกับวัดที่ทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ของจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 วัด
ผลของการศึกษาพบว่า กระบวนการเสริมสร้างแนวปฏิบัติในการสังคมสงเคราะห์ของวัด มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การให้ความรู้ด้านสังคมสงเคราะห์, การสำรวจปัญหาสังคม และการวางแผนให้การสงเคราะห์ 2) การสงเคราะห์สังคมในด้านต่างๆ
3) การพัฒนาศูนย์ประสานงานสังคมสงเคราะห์ บุคลากรของวัด กองทุน/มูลนิธิ และอุปกรณ์เครื่องมือ 4) การสร้างเครือข่ายศูนย์ประสานงาน เครือข่ายวัด เครือข่ายจิตอาสา และ
เครือข่ายกองทุน/มูลนิธิ และ 5) การประชุมสรุปผลการทำงาน การประเมินผลรายงานผล และการนำเสนอผลการทำงาน
ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติด้านสังคมสงเคราะห์ มี 3 ปัจจัย คือ 1) นโยบายด้านการสังคมสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ 2) การยึดหลักมนุษยธรรมและพุทธธรรมในการสังคมสงเคราะห์ และ 3) ศักยภาพและความพร้อมของวัดหรือองค์กร
แนวทางในการสร้างและพัฒนาเครือข่ายสังคมสงเคราะห์ของวัดในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีทั้งเครือข่ายเชิงพื้นที่ ได้แก่ เครือข่ายที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายระหว่างคณะสงฆ์ ราชการส่วนภูมิภาค องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หน่วยงานสวัสดิการ หน่วยงานสาธารณสุข และหน่วยงานทางการศึกษา และเครือข่ายเชิงกิจกรรม ได้แก่
1) เครือข่ายการจัดสวัสดิการ 2) เครือข่ายการอบรมศีลธรรมจริยธรรม 3) เครือข่ายการศึกษา 4) เครือข่ายการส่งเสริมอาชีพ และ 5) เครือข่ายการรักษาสุขภาพ
References
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2560). รายงานบรรยายสรุปจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่.
กองแผนงาน กรมการศาสนา. (2542). ปัจจัยส่งผลต่อความสำเร็จของเจ้าอาวาสในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.
เฉลิม อุตกฤษฏ์. (2561). การศึกษาบทบาทของพระภิกษุในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บรรพต วีระสัย และคณะ. (2523). พระสงฆ์กับสังคมไทยในมิติต่างๆ. กรุงเทพมหานคร: องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก.
ประทุม อังกูรโรหิต. (2553). สถาบันทางพระพุทธศาสนากับงานสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระครูใบฎีกาสุรพล อาสโภ (แย้มชุ่ม). (2558). การพัฒนารูปแบบงานสาธารณสงเคราะห์ตามกระบวนทัศน์วิถีพุทธ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภัทรพร สิริกาญจน. (2536). หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพุทธบัญญัติ : แนวคิดและบทบาทของพระคำเขียน สุวณฺโณ ในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สัญญา ภู่แก้วเผือก. (2533). การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทของวัดกับกรมประชาสงเคราะห์ ที่มีต่อการสงเคราะห์เด็กกำพร้า และเด็กยากไร้ : ศึกษาเฉพาะกรณี วัดสระแก้ว จังหวัดอ่างทอง และสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่. (2555). แผนการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดเชียงใหม่ 5 ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2555-2559). เชียงใหม่: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่.
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่. (2560). รายงานสรุปจำนวนวัด พระภิกษุ และสามเณรในจังหวัดเชียงใหม่. ฐานข้อมูลออนไลน์: แหล่งอ้างอิ http://cmi.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=810&5temid=176 [7 กันยายน 2560].