รูปแบบการบูรณาการฝึกสมาธิโดยใช้สติปัฏฐาน 4 กับหลักโยคศาสตร์
คำสำคัญ:
สมาธิ, สติปัฏฐานสี่, โยคศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการฝึกสมาธิโดยใช้สติปัฏฐานสี่ใน พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการฝึกสมาธิโดยใช้หลักโยคศาสตร์ในศาสนาพราหมณ์ 3) เพื่อ เสนอ รูปแบบการฝึกสมาธิโดยบูรณาการสติปัฏฐานสี่กับโยคศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการ วิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ฝึกปฏิบัติจำนวน 80 คน ผลการศึกษาพบว่า หลักการฝึกสมาธิตามหลักสติปัฏฐานสี่ในพระพุทธศาสนา และโยคศาสตร์ในศาสนาพราหมณ์ มีองค์ความรู้ที่สามารถนำมาบูรณาการเพื่อสร้างรูปแบบ การฝึกสมาธิ CHIM YOGA โดยใช้ 1) อิริยาบถการกราบสติปัฏฐานสี่ การนั่ง การยืน การเดิน และการนอน 2) อิริยาบถท่าไหว้พระทิตย์และการเคลื่อนไหวร่างกายในทางโยคะ การฝึกสมาธิในรูปแบบ CHIM YOGA ใช้เวลาในการฝึกทั้งสิ้น จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง โดย ภายใน 1 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 6 ช่วง ช่วงที่ 1 เป็นการบรรยายความรู้เกี่ยวกับสติปัฏฐานสี่ และโยคศาสตร์ และช่วงที่ 2 ถึงช่วงที่ 6 เป็นช่วงของการฝึกสมาธิและการประเมินการฝึก ด้านความรู้ความเข้าใจ พบว่า ผู้ฝึกมีความรู้เรื่องสติปัฏฐานสี่และโยคศาสตร์ใน ระดับมากที่สุด ( 4.73) นอกจากนี้ ภายหลังการฝึกผู้ฝึกมีความตระหนักถึงประโยชน์ใน ด้าน 1) ด้านจิตใจ สมาธิ ปัญญา ( 4.63) 2) ด้านร่างกาย ( 4.62) 3. ด้านสังคม ( 4.53) ในระดับมากที่สุด อีกทั้งผลการเห็นประโยชน์ทั้ง 3 ด้านทำให้ผู้ฝึกมีความเครียดลด ลง กระตุ้นสมาธิและสติปัญญา ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและความมั่นใจในตนเอง มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ฝึกได้ให้ข้อเสนอแนะต่อรูปแบบการฝึกสมาธิ CHIM YOGA ว่าควรมีรูปแบบการฝึกที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฝึกที่มีพื้นฐานต่างกัน เช่น รูปแบบการฝึกระดับ ต้น ระดับกลาง และระดับสูง
References
ชมชื่น สิทธิเวช. (2551). โยคะเพื่อสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์-พับลิชชิ่ง.
ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช. (8 มกราคม 2558) รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2559. แหล่งที่มา https://www.dailynews.co.th/it.
ที.เค.วี. เทสิกาจารย์. ธีเดช อุทัยวิทยารัตน์ แปล. (2559). หัวใจแห่งโยคะ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.
ธัญ ธำรงนาวาสวัสดิ์. (29 มีนาคม 2559). ตายเพราะสมอง. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2559. แหล่งที่มา https://slingshot.co.th/resources/articles/leadingout-of-the-box.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2551). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
พระอนุชา อนุชาโต (นามจันทร์). (2556). การศึกษาการเจริญเวทนานุปัสสนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิศ เงาเกาะ. (2531). สมาธิเพื่อชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์.
มาลี อาณากุล. (พฤษภาคม 2539). สาระสำคัญของสติปัฏฐานสูตร. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2559. แหล่งที่มา https://abhidhamonline. org/thesis/203.htm.
เยาวเรศ สมทรัพย์และคณะ. (2548). ผลของการฝึกโยคะต่อภาวะสุขภาพวัยรุ่นหญิง. รายงานการวิจัย. พยาบาลอนามัยชุมชน: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุภีร์ ทุมทอง. (2552). สติปัฏฐานสี่: เส้นทางตรงสู่พระนิพพาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัทขุมทองอุตสาหกรรมและการพิมพ์จากัด.
Smit A. Graham L. (2007). “Senthinathan S. Mindfulness-based cognitive therapy for recurring depression in older people: a qualitative study”. Aging Ment Health. 11 (3), 346-357.