ระบบอุปถัมภ์เชิงพุทธเพื่อการพัฒนาชนบทที่ยั่งยืนโดยโครงการ มูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบทของพระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล)

ผู้แต่ง

  • พระมานิตย์ ญาณธโร

คำสำคัญ:

ศึกษาวิเคราะห์, การพัฒนา

บทคัดย่อ

มนุษย์ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ในการที่จะรักษาทรัพยากรชนิดอื่นให้คงอยู่ในโลก ถ้าหากมนุษย์ไม่มีคุณภาพ ย่อมทำให้เกิดปัญหาแก่โลกและในที่สุดอาจทำลายโลกใบนี้ลงได้ ดังนั้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ   จึงเป็นหัวใจสำคัญในการรักษาโลกให้คงอยู่ได้อย่างสันติสุข ประเทศไทยเป็นประเทศที่บางสังคม(สังคมชนบทที่ยากจน) มีความต้องการระบบอุปถัมภ์เป็นอย่างยิ่ง ปัญหาเหล่านี้เป็นที่ประจักษ์แก่ พระพุทธพจนวราภรณ์(จันทร์ กุสโล)   ด้วยเมตตาธรรมที่เปี่ยมล้น ท่านจึงได้ก่อตั้ง มูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบทขึ้น   เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคมดังกล่าวให้ดีขึ้นแบบยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองได้ด้วยการอุปถัมภ์ในเชิงพุทธ ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นรากฐานที่เข้มแข็งของสังคมในการที่จะพัฒนาต่อยอดให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอย่างยั่งยืน

References

เดโช สวนานนท์. (2545). พจนานุกรมศัพท์การเมือง. กรุงเทพมหานคร: นสพ. หน้าต่าสู่โลกกว้าง.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2550). ศัพท์วิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเชียง.

พระพุทธพจนวราภรณ์(จันทร์ กุสโล). (2548). ที่ระลึก 30 ปี มูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท. เชียงใหม่: วัดป่าดาราภิรมย์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-08-15