ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานของเทศบาล ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
ความคาดหวัง, ประชาชน; ปฏิบัติงาน, เทศบาลตำบลลี้บทคัดย่อ
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานของเทศบาลตำบลลี้ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานของเทศบาลตำบล 3) เพื่อศึกษาปัญหาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเทศบาลตำบลลี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ คัดเลือก กลุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด ได้จำนวน 384 คน ในการวิเคราะห์ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t - test, F – test และเสนอผลในรูปแบบตารางประกอบการบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานของเทศบาล อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาราย พบว่า ด้านสังคมและวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าด้านอื่นๆ รองลงมา คือ ด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว และ ด้านการเมืองการบริหาร ตามลำดับ 2. ในด้านเปรียบเทียบความคาดหวังของประชาชน ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน ในการปฏิบัติงาน ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา มี ดังนี้ 3.1. ด้านปัญหา พบว่า ผู้บริหารขาดความเข้าใจในหลักการบริหารงาน เส้นทางสัญจรในหมู่บ้านไม่สะดวก ไฟส่องสว่างมีไม่ทั่วถึง คลื่นสัญญาณโทรศัพท์ไม่คลอบคลุม ขาดอาชีพเสริม ขาดความรู้เศรษฐกิจพอเพียง ยากจน การศึกษาต่ำ ไม่สนใจ การกีฬา ขาดความสามัคคี 3.2 ด้านแนวทางแก้ไข ดังนี้ คือ ควรอบรมให้ความรู้หลักด้านการบริหารที่ดีให้กับผู้บริหาร พัฒนาทางสัญจร ขยายเขตไฟส่องทาง และสัญญาณโทรศัพท์ให้ทั่วถึง ควรขยายสัญญาณโทรศัพท์ให้คลอบคลุม ให้โอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม ควรจัดตั้งห้องสมุดชุมชน ควรส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของเทศบาล
References
ชลลดา อุทธา, (2552) ความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาสาธารณูปโภคของเทศบาล : กรณีศึกษาเทศบาล อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
อลงกรณ์ อรรคแสง. (2547). การปกครองท้องถิ่นไทย เรื่อง การจัดรูปแบบและโครงสร้างภายในกรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.