ศึกษาเปรียบเทียบกระบวนชีวิตตามทัศนะของจักรกลนิยม กับปฏิจจสมุปบาทในพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระพรสุข ฐิตธมฺโม

คำสำคัญ:

ศึกษาเปรียบเทียบ, จักรกลนิยม

บทคัดย่อ

บทความเชิงวิชาการเรื่อง  ìกระบวนชีวิตตามทัศนะของจักรกลนิยมกับปฏิจจสมุปบาทในพุทธปรัชญาเถรวาทî โดยมุ่งศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน และแนวคิดที่แตกต่างกัน ผลการศึกษา มีดังนี้

ชีวิต ตามทัศนะของชาวจักรกลนิยม  มนุษย์วิวัฒนาการมาจาก สัตว์ชั้นสูง สัตว์ชั้นสูงวิวัฒนาการมาจากสัตว์ชั้นต่ำ สัตว์ชั้นต่ำวิวัฒนาการมาจากปฐมเชลล์ ซึ่งประกอบด้วยสสารและพลังงาน   พฤติกรรมทุกอย่างเป็นไปตามเงื่อนไขทางสสารหรือทางกายภาพ ชาวจักรกลนิยมยังเชื่ออีกว่าพฤติกรรมทุกอย่างเกิดจากแรงผลักดันบางอย่างโดยสิ้นเชิง ปัจจุบันเป็นผลเนื่องมาจากอดีต อนาคตเป็นผลเนื่องจากปัจจุบันเป็นอย่างนี้เรื่อยๆ ไป ในกรณีการกระทำ การพัฒนาชีวิตของมนุษย์ก็เหมือนกัน ชาวจักรกลนิยมก็มีความเชื่อในลักษณะเดียวกัน นั้นก็หมายความว่า การกระทำเกิดจากแรงผลักดันทั้งหมด ไม่มีความเป็นอิสระในตัว ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม สังคม ค่านิยม การศึกษา อุปนิสัย พ่อแม่ ญาติ  ตลอดเพื่อนมิตร สหาย ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นแรงผลักของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้การพัฒนาชีวิตมนุษย์จึงดำเนินไปตามกลไกลนี้ โดยให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราพึ่งปรารถนา ไม่ว่าจะต้องการให้มนุษย์เป็นโจร คนดี นักบุญ ก็สามารถทำได้ตามกลไกลนี้

ชีวิตตามหลักปฏิจจสมุปบาทในพุทธปรัชญาเถรวาท ถือว่าเป็นส่วนประกอบของนามรูป หรือวิวัฒนาการมาจากนามรูป แต่นามรูปก็มีขึ้นโดยอาศัยเหตุปัจจัย ชีวิตไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยความบังเอิญ แต่ทุกๆสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ล้วนแล้วแต่มีเหตุปัจจัย เกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย ความเป็นไปในชีวิต การกระทำของมนุษย์ การพัฒนาชีวิต สิ่งเหล่านี้มีได้ เกิดขึ้นได้เพราะอาศัยเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น การพัฒนาชีวิตมนุษย์ ตามหลักของปฏิจจสมุปบาทจึงเน้นไปที่เหตุปัจจัย สร้างเหตุปัจจัยให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราต้องการ ถ้าต้องการเป็นโจรก็สร้างเหตุปัจจัยให้กลายเป็นโจร ต้องการเป็นนักบุญ นักการเมือง หรือพระอรหันต์ ก็จำเป็นต้องสร้างเหตุปัจจัยให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น ซึ่งปัจจัยที่เป็นตัวการผลักดันชีวิตนั้น ตามกระบวนของเหตุปัจจัยแล้วมีอยู่ 2 ประการใหญ่ นั้นคือปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน ซึ่งทางพุทธปรัชญาเถรวาทเรียกว่า ปรโตโฆษะบ้าง กัลลยาณมิตรบ้าง ปาปมิตรบ้าง โยนิโสมนสิการบ้าง แต่ปัจจัยเหล่านี้ก็มิใช่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยอื่นๆอีกเช่นกัน เป็นลักษณะของลูกโซ่

จะเห็นได้ว่า กระบวนชีวิตของทั้ง 2 อย่างนี้มีส่วนที่เหมือนกันอยู่มิใช่น้อย อย่างไรก็ตามในเรื่องกระบวนชีวิตทั้ง 2 ทัศนะนี้ก็มีความต่างกันอยู่มิใช่น้อยเช่นกัน ถึงกระบวนชีวิตตามทัศนะของชาวจักรกลนิยมจะถือว่าเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ผลักดันให้เป็นไปก็ตาม แต่ชาวจักรกลนิยมก็เห็นเพียงสสาร กับพลัง งานเท่านั้น ไม่สามารถมองเข้าไปถึงจิตที่เป็นนามธรรมได้ ด้วยเหตุนี้เองการพัฒนาชีวิตตามทัศนะชาวจักรกลนิยมจึงมุ้งตรงไปที่การสร้างปัจจัยทางกายภาพอย่างเดียว แต่ในหลักปฏิจจสมุปบาทแล้วการพัฒนาชีวิตให้ความสำคัญทั้ง 2 ปัจจัย นั้นคือไม่ละเลยนามธรรม อีกทั้งไม่ถอดทิ้งกายภาพด้วย

References

สุภญาณ ศิยะญาโณ. (2545). โลกความรู้ พัฒนาการทางปัญญาของมนุษย์ชาติ. กรุงเทพมหานคร: เคล็ดไทย สุนทร ณ รังสี.

พระมหาประยูร ธมฺมจิตฺโต. (2532). พุทธปรัชญาเถรวาท ปรัชญาบุรพาทิศ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิศทเวทย์. (2520) ปรัชญาทั่วไป มนุษย์ โลก และความหมายของชีวิต. พิมพ์ ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์พิมพ์.

วิศทเวทย์. (2545). ปรัชญาอินเดีย ประวัติและลัทธิ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-07-17