ตัวแบบการผลิตซ้ำอัตลักษณ์ของความเป็นชอง

Main Article Content

สุธางศุ์รัตน์ สายสุวรรณ
พรทิวา อาชีวะ
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ชองในมิติทางสังคม และมิติทางเศรษฐกิจ  2. เพื่อนำเสนอการผลิตซ้ำอัตลักษณ์ความเป็นชอง โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแนวชาติพันธุ์วรรณา ด้วยวิธีการศึกษาเอกสารทั้งเอกสารชั้นต้นและชั้นรอง รวมถึงการสัมภาษณ์ทั้งการสัมภาษณ์ประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า การสัมภาษณ์เจาะลึก และการสัมภาษณ์กลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นที่เป็นชาวชองในเขตตำบลตะเคียนทอง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี


ผลการวิจัยพบว่า


อัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ชองมีลักษณะเป็นอัตลักษณ์ในความหมายที่เป็นเนื้อหาแบบองค์รวมคือเป็นอัตลักษณ์ที่ครอบคลุมทั้งมิติทางสังคม และทางเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยด้านต่าง ๆ คือ อัตลักษณ์การเกิด อัตลักษณ์การแต่งงาน       อัตลักษณ์การตาย อัตลักษณ์ทางด้านศาสนา อัตลักษณ์ทางด้านชีวิตความเป็นอยู่ อัตลักษณ์การแต่งกาย อัตลักษณ์ความเป็นอยู่ อัตลักษณ์ทางด้านเศรษฐกิจ อัตลักษณ์เกี่ยวกับอาหารของชอง และอัตลักษณ์ด้านสุขภาพ ข้อเสนอแนะที่จะเป็นการผลิตซ้ำอัตลักษณ์ชอง ได้แก่ อนุรักษ์ภาษาชองให้เป็นภาษาที่สองของชุมชนในเขตเขาคิชฌกูฏ, การเผยแพร่อัตลักษณ์ชอง โดยอาศัยเงื่อนไขการเปิดประชาคมอาเซียน, การจัดท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้ชาติพันธุ์ชอง และการฟื้นฟูสมุนไพร และการดูแลรักษาสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ชอง

Article Details

How to Cite
สายสุวรรณ ส., อาชีวะ พ., & ประดิษฐศิลป์ ช. (2024). ตัวแบบการผลิตซ้ำอัตลักษณ์ของความเป็นชอง. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(1), 62–71. https://doi.org/10.14456/issc.2024.6
บท
บทความวิจัย

References

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2542). คนกับอัตลักษณ์ 2. เอกสารประกอบการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

เฉิน ผันผาย. (ม.ป.ป.). เอกสารส่วนตัวถ่ายสำเนา.

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2559). ปฏิบัติการวิจัยทางสังคม. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

นฤพันธ์ ด้วงวิเศษ. (2545). ความหมาย Ethnicity ในการศึกษา Ethnography. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (2547). การสร้างและสืบทอดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง.ในวาทกรรม อัตลักษณ์.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

พระครูธรรมสรคุณ (เขียน ขนธสโร). (2546). ประเพณีชองประเพณีของบรรพบุรุษที่เป็นเจ้าของแผ่นดินภาคตะวันออก. คนรักบ้าน.

พระครูธรรมสรคุณ และธรรม พันธุศิริสด. (2541). อารยธรรมชอง จันทบุรี อาณาจักรจันทบูร เมืองเพนียด (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์ไทยรายวัน.

พระอธิการสฤษธ์ มหายโส (ฉัตรทอง). (2566). การสร้างความยั่งยืนทางอาหารท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบันฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีรำไพพรรณี.

วันวิสา อุ่นขจร. (2549). อัตลักษณ์ชองในภาคตะวันออก : กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ชองที่ตำบลคลองพลู กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุทธิวิทย์ จรดล. (2548). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและอัตลักษณ์ของชาวชองในจังหวัดจันทบุรี : กรณีศึกษาเฉพาะชาวชองในตำบลตะเคียนทอง กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สุเรขา สุพรรณไพบูลย์. (2530). การศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์. (2543). การศึกษาและการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ตามวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวชองในภาคตะวันออก. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2543). อัตลักษณ์ : การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. เอกสารทางวิชาการโครงการสังเคราะห์ความคิดรวบยอดทางทฤษฎีสังคมวิทยา. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

อมรา พงศาพิชญ์. (2533). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์ : วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 5). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอนก รักเงิน. (2551). ชาติพันธุ์สัมพันธ์กับการปรับตัวทางอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ชองในจังหวัดจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Jenkins, Richard. (1996). Social Identity. Routledge.