เกี่ยวกับวารสาร
ชื่อวารสาร (Journal Title)
ชื่อภาษาไทย |
วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร |
ชื่อภาษาอังกฤษ |
INTERDISCIPLINARY SOCIAL SCIENCES AND COMMUNICATION JOURNAL |
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ |
ISSC |
วัตถุประสงค์ (Focus)
วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร รับตีพิมพ์ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ให้กับนักศึกษา อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2. เพื่อเป็นการสร้างเสริมเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักนวัตกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ขอบเขตสาขาวิชา (Scope)
สาขาวิชาที่รับตีพิมพ์ ได้แก่ นิเทศศาสตร์ นิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ครุศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ทัศนศิลป์ การท่องเที่ยวและการโรงแรม และจิตวิทยา
ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์ (Type of Article)
วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร รับตีพิมพ์บทความ 3 ประเภท ดังนี้
1. บทความวิจัย (Research article) หมายถึง บทความที่เขียนจาก รายงานวิจัย รายงานผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือวิทยานิพนธ์ จากข้อมูลเชิงปฐมภูมิของผู้วิจัย โดยสรุปย่อกระบวนการวิจัยนั้น ๆ ให้มีความกระชับและสั้น อยู่ในรูปแบบของบทความความ ตามโครงสร้าง องค์ประกอบของบทความวิจัย โดยมีความยาวบทความ 10-15 หน้ากระดาษ A4
2. บทความวิชาการ (Academic article) หมายถึง บทความที่เขียนจากการรวบรวมความรู้ ทบทวนวรรณกรรมในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่อง ในสาขาที่รับตีพิมพ์ เรียบเรียงเนื้อหาขึ้นใหม่ เพื่ออธิบาย วิเคราะห์ ข้อมูลจากเนื้อหา หรือเสนอแนะองค์ความรู้ทางวิชาการ นวัตกรรม ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีความยาวบทความ 10-15 หน้ากระดาษ A4
3. บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) หมายถึง การเขียนเล่าเรื่องและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งโดยเจตนาจะแนะนำหนังสือเล่มนั้นให้ผู้อ่านรู้จัก
กำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่วารสารฯ (Publication Frequency) วารสารมีกำหนดออก ตามเวลาที่กำหนด ปีละ 4 ฉบับ (ราย 3 เดือน) โดยจำนวนบทความที่ตีพิมพ์จำนวน 19 เรื่อง ต่อฉบับ
ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – มีนาคม
ฉบับที่ 2 เดือน เมษายน – มิถุนายน
ฉบับที่ 3 เดือน กรกฎาคม – กันยายน
ฉบับที่ 4 เดือน ตุลาคม – ธันวาคม
การประเมินบทความ (Peer Review Process)
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารฯจะต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นทบทวนและตรวจสอบวิพากษ์ วิจารณ์ ความถูกต้อง เหมาะสมทางวิชาการ จากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวนอย่างน้อย 2-3 ท่าน ต่อบทความที่มาจากหลากหลายสถาบัน ในรูปแบบพิชยพิจารณ์ (Peer-Reviewed) ก่อนลงตีพิมพ์และเป็นการประเมินแบบการปกปิดสองทาง (Double blinded)