แนวทางการส่งเสริมการให้บริการสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภายใต้ระบบราชการ 4.0

Main Article Content

ณัฐฐาพร พุ่มไสว
พิเศษ ชัยดิเรก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน 2) เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยระบบราชการ 4.0 และการให้บริการสาธารณะมีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลกับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหินและ 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการให้บริการสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหินการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณโดยเลือกใช้วิธีการสำรวจด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 162 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน


ผลการวิจัยพบว่า


1) ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน มีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมาก


2) ลักษณะส่วนบุคคลอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้มาใช้บริการสาธารณะในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001


3) ปัจจัยของระบบราชการ 4.0 ด้านการสานพลังทุกภาคส่วน ระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่นๆ ด้านการสร้างนวัตกรรม และด้านการปรับเข้าสู่การเป็นดิจิทัล มีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลกับคุณภาพชีวิตผู้มาใช้บริการสาธารณะในเขตเทศบาลเมืองหัวโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


4) การให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองหัวหิน ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตมีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับคุณภาพชีวิตผู้มาใช้บริการสาธารณะในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย และด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับคุณภาพชีวิตผู้มาใช้บริการสาธารณะในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

Article Details

How to Cite
พุ่มไสว ณ., & ชัยดิเรก พ. (2024). แนวทางการส่งเสริมการให้บริการสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภายใต้ระบบราชการ 4.0. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(1), 173–183. https://doi.org/10.14456/issc.2024.15
บท
บทความวิจัย

References

จักรี ศรีจารุเมธีญาณ, ฉัฏฐ์สุดา ชัยโฉม, และชุลีพร นาหัวนิล. (2564). ระบบการบริหารราชการไทย Thai government administration system. วารสารพุทธมัคค์ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 6(1), 241-247.

ณัฐพล ขันธไชย. (2557). How Many Subjects Does It Take to Do a Regression Analysis ? โดย Samuel B. Green. วารสารเกษมบัณฑิต, 15(1), 140-144.

ณัฐวุฒิ แพงสวัสดิ์. (2552). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยพร อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย. [วิทยนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

มยุรี วีระธรรมโม. (2563). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ของสำนักงานที่ดินจังหวัดชุมพร. [วิทยนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

วุฒิสาร ตันไชย และธีรพรรณ ใจมั่น. (2547). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พุทธศักราช 2542. ในสารานุกรมการปกครองท้องถิ่น. (น. 1-79). สถาบันพระปกเกล้า.

วุฒิสาร ตันไชย. (2559). รูปแบบและประเภทการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 1). สถาบันพระปกเกล้า.

วรัทยา กุลเกลี้ยง. (2556). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สายพิณ จันทร์มา. (2553). แผนพัฒนาของเทศบาลที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน, กรณีศึกษาเทศบาลตำบลหนองแซง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2560, 3 มีนาคม). ระบบราชการ 4.0 ยึดหลักธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน. https://www.opdc.go.th.

อนันต์สุดา ศรีรุ้ง. (2564). ประสิทธิผลของการบริหารจัดการเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน, 3(3), 135-144.

Green, Samuel B. (1991). How Many Subjects Dose It Take to Do a Regression Analysis?. Multivariate Behavioral Research, 26(3), 499-510.