บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานกิจการนักเรียนที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตพื้นที่สมุทรสาคร 2) ผลการปฏิบัติงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่จังหวักสมุทรสาคร และ 3) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานกิจการนักเรียนที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 10 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษาหรือครูที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ทางด้านบริหารงานกิจการนักเรียนและการบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอนหรือกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสิ้น 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานกิจการนักเรียนตามแนวคิดของแซนดีน (Sandeen) กับผลการปฏิบัติงานวิชาการ ตามกรอบแนวทางคู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน
2) ผลการปฏิบัติงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตพื้นที่จังหวักสมุทรสาคร อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน
3) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานกิจการนักเรียนด้านการมีความสามารถในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ การดำเนินการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ และการมุ่งมั่นในความดีเลิศ ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร โดยภาพรวม
SCHOOL ADMINISTRATORS' ROLE FOR STUDENT AFFAIRS MANAGEMENT AFFECTING ACADEMIC AFFAIRS OF SECONDARY SCHOOL IN SAMUTSAKHON
The purposes of this research were to determine 1) school administrat' role for student affairs management of secondary school in Samutsakhon province 2) the academic affairs of secondary school in Samutsakhon province 3) school administrator's role for student affairs management affecting academic affairs of secondary school in Samutsakhon province. The sample consisted of 10 secondary school. The repondents were school directors, assistant directors of academic affairs and student affairs or teachers who work both divisions of student and academic affairs, teachers or school boards with the total number of 200. The instrument was a questionnaire about school administrators’ role for student affairs management on the concept of Sandeen and academic affairs regarding the framework of the basic education administration for juristic school published by the office of Basic Education Commission, Ministry of Education. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1) school administrators’ role for student affairs management of secondary school in Samutsakhon province, was at a high level in overall and individual.
2) the academic affairs of secondary school in Samutsakhon province, was at a high level in overall and individual.
3) the school administrators’ role for student affairs management in enable others to be successful , conduct regular assessment and insist on excellence affected to the academic affairs of secondary school in Samutsakhon province in overall.