การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

  • โสภา วงษ์นาคเพ็ชร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ประเสริฐ อินทร์รักษ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 จำนวน 108 โรงเรียน ผู้วิจัยกำหนดให้ข้อมูลโรงเรียนละ 4 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือครูฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น จำนวน 432 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล ตามแนวคิดของกระทรวงศึกษาธิการ และประสิทธิผลของสถานศึกษาตามแนวคิดของฮอยและมิสเกล (Hoy and Miskel) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson's product-moment correlation coefficient)

ผลการวิจัย พบว่า

1. การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรและสถานศึกษา การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การนิเทศการศึกษา การแนะแนวการศึกษา การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การส่งเสริมความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชน การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่อยงาน และสถาบันอื่นๆ ที่จัดการศึกษา และการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่นๆ ตามลำดับ

2. ประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียนลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ อัตราการลาออกกลางคันของนักเรียน คุณภาพโดยทั่วไป การขาดงาน ความพึงพอใจในการทำงาน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามลำดับ

3. การบริหารงานวิชาการผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลของสถานศึกษา เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 มีความสัมพันธ์โดยรวมในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

ACADEMIC ADMINISTRATION AND THE EFFECTIVENESS OF BASIC EDUCATION SCHOOLS UNDER SUPHANBURI EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

The purposes of this research were to find 1) the academic administration of basic education
schools under Suphanburi Educational Service Area Office 2, 2) the effectiveness of basic education schools under Suphanburi Educational Service Area Office 2, and 3) the relationship between academic administration and the effectiveness of basic education schools under Suphanburi Educational Service Area Office 2. The sample used in this research were 108 schools under Suphanburi Educational Service Area Office 2. The respondents were the directors, assistant of director or academic section and teachers, 432 respondents in total. The research instrument was a questionnaire concerning academic administrator in basic education schools based on the concept of education and effectiveness based on Hoy and Miskel’s concept. The statistical used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product – moment correlation coefficient.

The findings of the research were as follows:

1. The academic administration of basic education schools under Suphanburi Educational Service Area Office 2 was at a high level. They were learning process development, school curriculum development, the development of school internal quality assurance system, the measurement, evaluation and transfer of learning credits, the development of innovation media, and educational technology, educational supervision, educational guidance, learning resource development, researches for educational quality development, academic knowledge
promotion for the community, academic promotion and support for persons, families, and organizations, work unit, and other educational institutions, and cooperation of academic development with other schools respectively.

2. The effectiveness of basic education schools under Suphanburi Educational Service Area Office 2 was at a high level in overall and individual aspect. They were dropout rate, overall quality, absenteeism, job satisfaction and achievement respectively.

3. There was significant relationship between the academic administration and the effectiveness of basic education schools which related to students under Suphanburi Educational Service Area Office 2 at .01 level of significance.


Downloads