การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

Main Article Content

ธวัชชัย พิกุลแก้ว
อมรชัย ตันติเมธ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นแบบวิจัยและพัฒนา โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา มีขั้นตอนประกอบด้วย การศึกษาเอกสารและการศึกษาภาคสนามในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 3 แห่ง 2) การสร้างรูปแบบ 3) การตรวจสอบรูปแบบ ซึ่งประกอบด้วย การประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 11 คน และประเมินรูปแบบโดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 185 คน และ 4) การแก้ไขปรับปรุงและพัฒนารูปแบบ เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติบรรยาย

ผลการวิจัยมีดังนี้

1) ได้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่มีส่วนประกอบของรูปแบบ 4 ส่วน คือ 

      (1) หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 7 หลักการ คือ การใช้กระบวนการทางภาวะผู้นำ การสร้างแรงจูงใจ กระบวนการติดต่อสื่อสาร กระบวนการปฏิสัมพันธ์ กระบวนการตัดสินใจ การกำหนดเป้าหมาย และกระบวนการควบคุมการปฏิบัติงาน

     (2) ระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม มี 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่หนึ่ง เป็นองค์ประกอบภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย 2 ระบบย่อย คือ ระบบย่อยด้านโครงสร้างและระบบย่อยด้านองค์กรบุคคล องค์ประกอบที่สองเป็นองค์ประกอบภายนอกในด้านการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ บุคคลที่มีส่วนร่วม  เรื่องที่มีส่วนร่วม วิธีการมีส่วนร่วม ขั้นตอนการมีส่วนร่วม และระดับการมีส่วนร่วม

     (3) แนวทางการนำรูปแบบการไปใช้ มี 3 ขั้นตอน คือ การเตรียมความพร้อม การนำรูปแบบไปใช้ และการนิเทศกำกับติดตาม

     (4) เงื่อนไขของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ของการใช้รูปแบบ และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้รูปแบบ ส่วนที่ 2 คือ แหล่งที่มาของปัจจัย ซึ่งมี 3 แหล่ง คือ อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้ร่วมงาน และผู้รับบริการ

2) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก

 

DEVELOPMENT PARTICIPATION ADMINISTRATIVE MODEL OF EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE

The purpose of this research was development a participation administrative model of educational service area office. It was processed by a research and development approach. Which consisted of 4 steps as follows: (1) a study of state conditions and problems through a document any study and field study of 3 area offices. (2) a construction of the model (3) a verification of the model by 11 expert and an evaluation of the model by 185 area office directors and the final improvement of the model. The research instruments were interview guide, a questionnaire and an evaluation from. Data were analyzed by content analysis and descriptive statistics.

The research results were as follow:

1) The model composed of 4 parts

     The 1st part was the 7 participative principles which were leadership process use,
motivational force, communication process, interaction influence process, decision making process, goal setting and control process.

     The 2nd part was the participative management system which consisted of education
in and participative management dimension.

     The 3rd part was an Implementation process which consisted of 3 factors. They were
preparation, implementation process and control.

     The 4th part was conditions of a the participative management model which composed of successful and obstacle factors and there sources of factors (superordinate, subordinate and participants)

2) The developed model was evaluated at a high level by experts and area office directors to be suitable and possible for implementation.


Article Details

บท
บทความวิจัย