ปัจจัยด้านกระบวนการที่ส่งผลต่อการนิเทศการสอนในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

พรรณมาศ พรมพิลา
ประเสริฐ อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ (1) ปัจจัยด้านกระบวนการที่ส่งผลต่อการนิเทศการสอนในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (2) รูปแบบของกระบวนการนิเทศการสอนในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 226 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครู รวมผู้ให้ข้อมูล 678 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเพื่อการจำแนกกลุ่มตัวแปรด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยหลัก (Factor Analysis) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Path Analysis) วิเคราะห์ค่าไคสแควร์ (Chi-Square) (χ2) -test of Independence ประกอบกับ Marascuilo test.

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านกระบวนการที่ส่งผลต่อการนิเทศการสอนในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย ปัจจัย 7 ด้าน คือ ด้านการวางแผน ด้านการบริหารจัดการ ด้านการสำรวจสภาพปัญหา และความต้องการของครู ด้านการประเมินผล ด้านการพัฒนาและการปรับปรุง ด้านการมีส่วนร่วม และด้านการปฏิบัติการนิเทศการสอน 2) รูปแบบของกระบวนการนิเทศการสอนในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นที่กำหนดขึ้นประกอบด้วยปัจจัย 7 ด้านแต่ละด้านมีสหสัมพันธ์เชิงบวกต่อกัน โดยด้านการวางแผน ด้านการบริหารจัดการ ด้านการสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการของครู ด้านการประเมินผล และด้านการพัฒนาและการปรับปรุง มีสหสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ทั้ง 5 ด้านดังกล่าว มีสหสัมพันธ์ทางบวกโดยตรงกับด้านการปฏิบัติการนิเทศการสอน ส่วนด้านการวางแผนและด้านการบริหารจัดการมีสหสัมพันธ์ทางบวกโดยตรงกับด้านการมีส่วนร่วม

 

FACTORS AFFECTING INSTRUCTIONAL SUPERVISION PROCESS IN MUNICIPALITY SCHOOL

The purposes of this research were to identify; (1) the process factors affecting instructional
supervision in the municipality schools, and (2) the model of instructional supervision process in municipality schools. The sample used of this study were 226 municipality schools. The respondents comprised school administrators, head of academic affairs and teachers, totally 678 respondents. The instruments for collecting the data were analyzed by focus group interviews form and opinionnaire. The statistical treatment for analyzing the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, exploratory factor analysis, path analysis and Chi-Square (χ2)-test of Independence, Marascuilo test.

The research findings were as follows: (1) The factor that affecting instructional supervision
process in municipality schools composed of 7 factors: 1) planning 2) managing 3) problems and needs assessing 4) evaluating 5) developing and improving 6) participating and 7) instructional supervising. (2) The model of instructional supervision process in municipality school composed of 7 factors whereby each factor were positively correlated eith each others. Whereas planning, managing, problems and need assessing, evaluating, and developing and improving were significantly correlated with themselves. On the other hand those five factors were directly correlated whit instructional supervision. However, planning and managing were correlated with the participating factor.


Article Details

บท
บทความวิจัย