พฤติกรรมภาวะผู้นำของอาจารย์ใหญ่กับความพึงพอใจของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี

ผู้แต่ง

  • พระมหาบุญลือ พิพัฒน์เศรษฐกุล สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ประเสริฐ อินทร์รักษ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) พฤติกรรมภาวะผู้นำของอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี 2) ความพึงพอใจของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมภาวะผู้นำของอาจารย์ใหญ่กับความพึงพอใจของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี จำนวน 92 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ อาจารย์ใหญ่และรองอาจารย์ใหญ่ ครูผู้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม รวม 368 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมภาวะผู้นำของอาจารย์ใหญ่ ตามทฤษฎีของ แทนเนนบอมและ ชมิทธ์ (Tannenbaum and Schmidt) และความพึงพอใจของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ตามทฤษฎีของ ล็อค (Locke) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ (f) ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient)

ผลการวิจัยพบว่า

1. พฤติกรรมภาวะผู้นำของอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ส่วนมากเป็นการนำเสนอปัญหา ขอคำแนะนำและตัดสินใจ รองลงมาเป็น การนำเสนอการตัดสินใจเป็นข้อเสนอที่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้

2. ความพึงพอใจของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากเรียงลำดับจากค่ามากไปหาน้อย ดังนี้ คือ ตัวงาน เงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง การได้รับการยอมรับนับถือ ผลประโยชน์เกื้อกูล สภาพการทำงาน การนิเทศงาน เพื่อนร่วมงาน และหน่วยงานและการจัดการ

3. พฤติกรรมภาวะผู้นำของอาจารย์ใหญ่กับความพึงพอใจของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี โดยภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

SCHOOL PRINCIPAL’S LEADERSHIP BEHAVIOR AND TEACHER'S SATISFACTIONS IN
PHRAPARIYATTIDHAMMA SCHOOL , PALI EDUCATION

The purposes of this research were to find 1) leadership behavior of Phrapariyattidhamma School principal, Pali Education, 2) the satisfaction of teachers in Phrapariyattidhamma School, Pali Education, and 3) the relationship between leadership behavior of Phrapariyattidhamma School principal, Pali Education and the satisfaction of teachers in Phrapariyattidhamma School, Pali Education. The sample was 92 Phrapariyattidhamma Schools, Pali Education. The respondents were School principals,vice principals,and teachers, with the total of 368. The instrument for collecting the data was a questionnaire, based on Tannenbaum and Schmidt’s leadership behavior concept, and the satisfaction of teachers based on Locke’s concept. The statistics used to analyze the data were frequency (f), percentage (%), mean (x̅), Standard Deviation (S.D.) and Pearson’s product moment correlation coefficient.

The findings were as follow :

1.The leadership behavior of Phrapariyattidhamma School principals, Pali Education, mostly was manager presenting problem, getting suggestions, making decision. The next was manager presenting tentative decision subject to change.

2.The satisfaction of teachers in Phrapariyattidhamma School, Pali Education; as a whole; was rated at a high level. When considered each aspect, all aspects was rated at a high level; ranking from the highest to the lowest mean were work, pay, promotion, recognition, benefits, working conditions, supervision, co-workers, and company, and management respectively.

3.The relationship between leadership behavior of Phrapariyattidhamma School principals, Pali Education and the satisfaction of teachers in Phrapariyattidhamma Schools, Pali Education was found at 0.05 level of significance.

 


Downloads