การวางแผนกลยุทธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 4

Main Article Content

ลัดดาวัลย์ บุญเลิศ
ประเสริฐ อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1)การวางแผนกลยุทธ์ของโรงเรียน 2) ประสิทธิผลของโรงเรียน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนกลยุทธ์กบั ประสิทธิผลของโรงเรียน กลุ่มตวัอย่าง คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 4 จำนวน 37 โรง มีผู้ใ้ห้ข้อมูลทั้งสิ้น 111 คน ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการ/ครูผู้รับผิดชอบงานแผน และครู รวมโรงเรียนละ 3 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์พัฒนาขึ้นตามแนวคิดของกลิกแมน กอร์ดอน และรอสกอร์ดอน (Glickman, Gordon and Ross-Gordon) สำหรับแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียนพัฒนาขึ้นตามแนวคิดของฮอยและมิสเกล (Hoy and Miskel) สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพนัธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า
1. การวางแผนกลยุทธ์ของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละขั้นตอนพบว่า 3 ขั้นตอน ปฏิบัติอยู่ระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ การกำหนดปรัชญาความเชื่อขององค์กร การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร และการกำหนดพันธกิจ ส่วนอีก 6 ขั้นตอนปฏิบัติอยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับดังนี้ การกำหนดแผนปฏิบัติการ การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายใน การกำหนดวัตถุประสงค์ การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอก การกำหนดยุทธศาสตร์ทางเลือก และการกำหนดนโยบาย

2. ประสิทธิผลของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด สองด้านเรียงตามลำดับดังนี้ การขาดงาน และคุณภาพโดยรวม และอีก 3 ด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ความพึงพอใจในงาน อัตราการออกกลางคันของนักเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

3. การวางแผนกลยุทธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียน ในภาพรวม มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์เป็นรายขั้นตอนและรายด้าน พบว่า การวางแผนกลยุทธ์ทุกขั้นตอนมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนทุกด้าน ยกเว้น ด้านอัตราการออกกลางคันของนักเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับการวางแผนกลยุทธ์

 

STRATEGIC PLANNING AND EFFECTIVENESS OF SCHOOLS UNDER KANCHANABURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 4

The purposes of this study were to find; 1) the strategic planning of schools, 2) the effectiveness of schools, and 3) the relationship between strategic planning and effectiveness of schools. The samples of this study were 37 schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 4. There were three respondents from each school; school principal, teacher who responsible for school planning and teacher, totally 111 respondents. The research instrument was a questionnaire concerning strategic planning of school based on Glickman, Gordon and Ross-Gordon’s concept, and the effectiveness of schools based on Hoy and Miskel’s concept. The statistical used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product-moment correlation coefficient.

The findings of this study were as follows:

1) The strategic planning of schools as a whole was rated at a high level. When considering in each step, there were 3 steps rated at a highest level. There rank from the highest to lowest arithmetic mean were; identify common’s beliefs, identify the organization’s vision, and identify the organization’s mission. For the rests were rated at a high level such as: design action plan, conduct internal analysis, state objectives, conduct external analysis, develop and analysis alternative, and formulate policies.

2) The effectiveness of schools as a whole was rated at a high level. When considering in each component, two components were rated at a highest level such as: absenteeism, and overall qualities. For the rests rated at a high level such as: job satisfaction, dropout, and achievement.

3) There were significant correlation between strategic planning and effectiveness of schools in overall at .01 level. When considering the correlation of each step of strategic planning and each component of effectiveness of school, there were significant correlated except dropout was not significance.


Article Details

บท
บทความวิจัย