ทักษะการบริหารที่สัมพันธ์กับมาตรฐานด้านผู้บริหารตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ทักษะการบริหาร, มาตรฐานผู้บริหาร, Administrative skills, Administrator standardบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครปฐม 2) มาตรฐานด้านผู้บริหาร ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครปฐม และ 3)ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารกับมาตรฐานด้านผู้บริหาร ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม จำนวน 27 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 6 คน ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 3 คน และครูผู้สอน จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามตามแนวคิดของเดรคและโรว์ (Drake and Roe) และของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน(Pearson’s product–moment correlation coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2) มาตรฐานด้านผู้บริหารตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
3) ทักษะการบริหารของผู้บริหารกับมาตรฐานด้านผู้บริหารตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครปฐม มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
THE RELATIONSHIP BETWEEN ADMINISTRATIVE SKILLS AND ADMINISTRATOR STANDARD ACCORDING TO BASIC EDUCATION STANDARD IN NAKHORNPATHOM EDUCATION SERVICE AREA OFFICE*
The purposes of this research were to find 1) the administrative skills of school administrator in Nakhornpathom Education Service Area Office 2) the administrator standard according to basic education standard in Nakhornpathom Education Service Area Office, and 3) the relationship between administrative skills and administrator standard according to basic education standard in Nakhornpathom Education Service Area Office. The sample used in this research were 27 public secondary schools in Nakhornpathom Education Service Area Office. The respondents were 162 teachers. They were composed of 81 administrators, and 81 class teachers. The instrument employed in this study were questionnaires about administrative skills based on concept of Drake and Roe and the administrator standard based on The Office for National Education Standards and Quality Assessment. The statistical used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product–moment correlation coefficient.
The findings of research revealed that:
1. The administrative skills of school administrator in Nakhornpathom Education Service Area Office as a whole and as an individual, were at a high level.
2. The administrator standard according to basic education standard in Nakhornpathom Education Service Area Office as a whole and as an individual, were at a high level.
3. The relationship between administrative skills and administrator standard according to basic education standard in Nakhornpathom Education Service Area Office was significantly difference at the .01 level.