การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ระดับสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2

Main Article Content

จิราวดี พวงจันทร์
นพดล เจนอักษร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ระดับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 2) ความแตกต่างของการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาระดับสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 3) แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาระดับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบรูบริค (Rubric Scale Questionare) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 จำนวน 103 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนหัวหน้าวิชาการ และครูผู้สอนโรงเรียนละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 309 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) สถิติทดสอบค่าที (t- test) สถิติทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F- test, One way analysis of variance : ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ระดับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การส่งเสริม สนับสนุนระดับสถานศึกษา การจัดทาหลักสูตรสถานศึกษา การดำเนินการระดับชั้นเรียน และการกำกับ ดูแลคุณภาพระดับสถานศึกษา

2. ความแตกต่างของการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ระดับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 จำแนกตามตัวแปร เพศ ทั้งรายด้านและรายข้อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์ในการทำงาน ทั้งรายด้านและรายข้อไม่แตกต่างกัน

3. แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ระดับสถานศึกษา มี 3 แนวทางคือ 1) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ปี การศึกษาละ 1 – 2 ครั้ง ทบทวน สร้างความเข้าใจที่ตรงกัน 2) ไม่ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรบ่อย ทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้ปฏิบัติ และ 3) มีนโยบายลดงานกระดาษลง เพื่อให้ครูผู้สอน
ได้ทุ่มเวลาไปกับการเรียนการสอน

 

SCHOOL CURRICULUM MANAGEMENT AT SCHOOL LEVEL UNDER THE JURISDICTION OF RATCHABURI PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 2

This research purposes were to determine 1) the school curriculum management at school level under the jurisdiction the office of Ratchaburi primary education service area 2 2) the difference of the school curriculum management at school level under the jurisdiction the office of Ratchaburi primary education service area 2 and 3) the solutions guideline of the school curriculum management at school level under the jurisdiction the office of Ratchaburi primary education service area 2. The research instrument was a rubric questionaire. The samples were 103 schools under the jurisdiction the office of Ratchaburi primary education service area 2. The respondents in each school comprised of an administrator, an assistant administrator, and a regular teacher, total 309 respondents. The statistics applies in the research were frequency, percentage, mean, standard deviation, t – test, (F- test, One way analysis of variance : ANOVA)

The findings revealed as follows :

1. The school curriculum management at school level under the jurisdiction the office of Ratchaburi primary education service area 2, as a whole and as and individual, was at a high level;ranking from highest to the lowest as follows : 1) the school enhancing and supporting, the school curriculum arrangement, the classroom performance and the school monitoring of quality.

2. There was difference between the gender about the school curriculum management at school level under the jurisdiction the office of Ratchaburi primary education service area 2 at .01 significant level, while there was not significant difference between age, educational level, work responsibility and work experience.

3. There was 3 solutions guideline of the school curriculum management at school level like as ; 1) should provide conference and workshop on school curriculum about once or twice a year for overview, revision and understanding correctly 2) should often not improve the curriculum because it makes the performers confuse and 3) should have a policy of reducing papers to enhance the teachers using time in teaching efficiently.


Article Details

บท
บทความวิจัย