แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารงานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติที่ดี, การบริหารงานวิจัย, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, Best Practices, Research Management, The Office of the Basic Education Commission (OBEC)บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบการบริหารงานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 2) แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารงานวิจัยของ สพฐ. โดยมีขั้นตอนการวิจัย ดังนี้ ขั้นที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบในการบริหารงานวิจัยของ สพฐ. จากข้อมูล 2 แหล่ง คือ 1) แนวคิดทฤษฎี รายวิจัยและเอกสารทั้งในและต่างประเทศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 2) สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งผู้วิจัยได้คัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 6 หน่วยงาน สถิตที่ใ่ช้ คือ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ขั้นที่2 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจในการบริหารงานวิจัยของ สพฐ. และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารงานวิจัยของ สพฐ. โดยศึกษาจากกลุ่มตัว อย่าง จำนวน 145 หน่วย ผู้ให้ข้อมูลหน่วยละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 435 คน ประกอบด้วย 1) ผู้ร้บผิดชอบโครงการวิจัยของ สพฐ. 3 คน 2) ศึกษานิเทศก์ 144 คน 3) ผู้บริหารโรงเรียน 144 คน และ 4) ครูผู้สอน 144 คน ขั้นที่ 3 ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารงานวิจัยของ สพฐ. โดยการสังเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน สถิตที่ใ่ช้ คือ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบพื้นฐานในการบริหารงานวิจัย มีจำนวน 48 ตัวแปร จัดเป็น 4 องค์ประกอบ คือ 1) การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการวิจัย 2) การสร้างความตระหนักและแรงจูงใจ 3) การสื่อสารเพื่อการวิจัยโดยใช้เทคโนโลยี และ 4) การประสาน/สร้างเครือข่ายวิจัยและการมีส่วนร่วม ทั้ง 4 องค์ประกอบ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ 0.01 และมีความสัมพันธ์โดยตรงและโดยอ้อมต่อแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารงานวิจัยของ สพฐ.
2. แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารงานวิจัยของ สพฐ. ได้ 6 ด้าน คือ 1) กลวิธีในการดำเนินงานวิจัย 2) หลักการเป้าหมายและแนวทางการบริหารงานวิจัย 3) การจัดโครงสร้างการบริหารงานวิจัย 4) สร้างนักวิจัย 5) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวิจัย 6) การสร้างงานวิจัยและนำไปใช้ประโยชน์
THE BEST PRACTICES IN RESEARCH MANAGEMENT AT THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSIONฃ
The purposes of this research were to determine 1) the research management factors at the Office of the Basic Education Commission (OBEC) 2) the best practices in research management at OBEC. The research procedures consisted of 3 steps : 1. study factors in research management at OBEC from documentation concepts of the theories, research reports and papers from various related sectors both of local and abroad. The statistic used to analyze the data in thid step was content analysis, interviewed 6 specialists from national research management sectors 2. analyze factors used in research management, here of which, quantitative research was employed by collecting data from 145 samples Exploratory Factor Analysis (EFA) and Path Analysis in order to summarize factors in research management totally with 435 respondents 3. study the best practices in research management at the OBEC, here of which, Focus Group discussion was used.
The findings were as follows :
1. There were 48 factors for research management, which categorized into 4 components ; 1) resources management 2) Main Idea and clear objectives and research procedures 3) research communication by technology 4) participation from all sectors. The correlation of four factors has statistically significant at 0.1 levels and direct affect to factors of the best practices.
2. The best practices in research management for OBEC were : 1) research management strategies 2) policies, objectives, tactics and research manner 3) research management framework 4) develop new researchers 5) research Information technology System 6) to value added and develop beneficial research