รูปแบบความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ในการบริหารงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
คำสำคัญ:
ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้, การบริหารงานห้องสมุด, สถาบันอุดมศึกษา, accountability, libraries administrations, higher educationบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อทราบองค์ประกอบความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ในการบริหารงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (2) เพื่อทราบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้และในการบริหารงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และ (3) เพื่อยืนยันรูปแบบความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ในการบริหารงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยวิธีแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้จากการสุ่มอย่างง่ายโดยการเปิดตารางของ (Krejcie Morgan) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 13 แห่ง รวมทั้งสิ้น 312 คน และผู้เชี่ยวชาญ จานวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน การวิเคราะห์อิทธิพล และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ในการบริการงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดการพฤติกรรมที่ไม่เอื้อต่อการทำงาน การบริการที่เป็นระบบและมีขั้นตอนที่เหมาะสม การกำหนดวิธีการบริหารที่ทำให้บรรลุเป้าหมาย การสนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วม การมีอิสระในการวางแผน และการสื่อสารในการปฏิบัติงาน การติดตาม เปลี่ยนแปลง และประเมินผล ความเต็มใจและความรับผิดชอบในการทำงาน และความมุ่งมั่นและอดทนในการปฏิบัติงานห้องสมุด 2) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ในการบริหารงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ พบว่า การจัดการพฤติกรรมที่ไม่เอื้อต่อการทำงาน การบริการที่เป็นระบบและมีขั้นตอนที่เหมาะสม การกำหนดวิธีการบริหารที่ทำ ให้บรรลุเป้าหมาย การสนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วม การติดตาม เปลี่ยนแปลง และประเมินผล ความเต็มใจและความรับผิดชอบในการทำงาน และความมุ่งมั่นและอดทนในการปฏิบัติงานห้องสมุด มีอิทธิพลทางตรงกับการบริหารงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐส่วนการการสนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วม การมีอิสระในการวางแผนและการสื่อสารในการปฏิบัติงาน การติดตามเปลี่ยนแปลง และประเมินผล และความมุ่งมั่น และอดทนในการปฏิบัติงานห้องสมุดมีอิทธิพลทางอ้อมกับการบริหารงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) การยืนยันรูปแบบความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ในการบริหารงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม เป็นไปได้ ถูกต้อง และใช้ประโยชน์ต่อการบริหารงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐอย่างเป็นเอกฉันท์ อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนะให้มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูล และการให้บริการที่รวดเร็ว
A MODEL OF ACCOUNTABILITY IN LIBRARIES ADMINISTRATION OF PUBLIC HIGHER EDUCATION INSTITUTIONS
The purposes of this research were: (1) to realize the components of accountability and administration in libraries of public higher education institutions, (2) to realize the causal relation between accountability and administration in libraries of public higher education institutions, and (3) to confirm a model of accountability in libraries administration of public higher education institutions. This research was used the mixed methodology. The samples were selected by libraries personnels of 13 public higher education institutions, totally 312 persons, and 5 specialist. The instruments for selecting data were structure interview and a questionnaire. The statistical analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, factor analysis, path analysis and content analysis.
The findings revealed as follows: 1) The components of accountability in libraries administration of public higher education institutions were 8 factors: behavior arrangement for disorganized working, systematic service and suitable process,determined administrative methodology attaining destination, supporting and enforcing participation, freely in planning and communication in performing,monitoring, changing and evaluating, willing and responsibility in working, and effort and patience in libraries performance. 2) The causal relation between accountability in libraries administration of public higher education institutions was found that behavior arrangement for disorganized working, systematic service and suitable process, determined administrative methodology attaining destination, supporting and enforcing participation, monitoring, changing and evaluating, willing and responsibility in working, and effort and patience in libraries performance were direct effect to libraries administration of public higher education institutions. But supporting and enforcing participation, freely in planning and communication in performing, monitoring, changing and evaluating, and effort and patience in libraries performance were indirect effect to libraries administration of public higher education institutions significantly at the level . 01. 3) The model accountability in libraries administration of public higher education institutions was found that this model was appropriate,feasible,accurate and useful consensus in libraries administration; additionally, the experts suggested leading modern technologies in collecting data and giving fast service in future.