รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการพัฒนาคุณภาพ สถานศึกษา โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุกูล)

Main Article Content

อาภรณ์ ราชสิงโห

บทคัดย่อ

รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุกูล) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ลักษณะรูปแบบของการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยใช้กรอบแนวคิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามวงจรคุณภาพแบบ PDCA ของเดมมิ่ง (Deming’s Circle) คือ การมีส่วนร่วมในการวางแผนการปฏิบัติการตรวจสอบ และการปรับปรุงพัฒนาในการบริหารสถานศึกษาตามภารกิจการปฏิบัติงาน 4 ด้านคือ ด้านวิชาการด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป

กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับการมีส่วนร่วมและลักษณะการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นโดยมีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า และแบบสอบถามแบบปลายเปิด มีค่าความเชื่อมั่น \alpha - coefficient เท่ากับ 0.892 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีส่วนร่วมในการบริหารงานด้านการบริหารทั่วไปมากที่สุด ด้านงบประมาณน้อยที่สุด

2. ลักษณะการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามวงจรคุณภาพแบบ PDCA มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีส่วนร่วมในขั้นตอนการปฏิบัติมากที่สุดขั้นตอนการตรวจสอบน้อยที่สุด

3. ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม มี 2 กลุ่มปัจจัยได้แก่

     3.1 ปัจจัยด้านโรงเรียน ได้แก่ (1) คุณลักษณะของผู้บริหารด้านความเป็นผู้รอบรู้มีมนุษยสัมพันธ์ มีวิสัยทัศน์และเข้าใจยอมรับชุมชน (2) คุณลักษณะของบุคลากรที่เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความประพฤติดี มีความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ มีความรู้และเข้าใจชุมชน (3) ลักษณะการปฏิบัติของสถานศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การจัดประชุมชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การยอมรับและเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น การให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าทีประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างสม่ำเสมอ (4) ลักษณะการปฏิบัติของครูและบุคลากร ได้แก่ การสนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนตามแต่โอกาสการพัฒนาหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งสร้างคุณภาพของนักเรียนและผลงานของโรงเรียนด้านต่างๆ

     3.2 ปัจจัยด้านชุมชน ได้แก่ (1) คุณลักษณะของกรรมการที่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการมีความรู้ความเข้าใจในการศึกษา มีความสนใจยินดีให้ความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพของเยาวชน มีความพร้อมในเรื่องความสามารถ เวลา หรือมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจในการที่จะเข้าร่วมเป็นกรรมการสถานศึกษา (2) ลักษณะของชุมชนและคนในชุมชน ได้แก่ ชุมชนที่มีสมาชิกในชุมชนเห็นความสำคัญของการศึกษา มีความสนใจชุมชนของตนเอง และมีความเสียสละคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก

4. ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 2 กลุ่มปัจจัยเช่นเดียวกับปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่มีลักษณะในทางตรงกันข้ามจึงเป็นอุปสรรคต่อการมี
ส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

PATTERNSPARTICIPATION OF THE COMMITTEE ON BASIC EDUCATION IMPROVE THE QUALITY OF EDUCATION PATTAYA CITY 8 (PATTAYANUKUN)

Patterns participation of the committee on basic education improve the quality of education. Pattaya School 8 (Pattayanukun) This research aims to study the involvement of the school board, the form of participation of the school board. Factors that promote and factors that hinder the participation of the school board to improve the quality of education. The concepts involved in the development of quality education by a range of quality Deming’s PDCA (Deming’s Circle) is to participate in the plan. Operational monitoring. And improvements in the management of the school by working four mission areas: academic, budget and personnel management. And general management.

The purpose of the research is the basic education of 20 students used a questionnaire to collect information about the level of participation and the participation of the school board and a questionnaire about the factors that promote and factors that hinder the participation of the school board. Which was created with a characteristic scale. And open-ended questionnaire. The reliability \alpha - coefficient equal to 0.892, the data were analyzed by averaging. Standard deviation percentage.

The results showed that

1. Levels of the education committee in the development of quality education at the middle level. By participating in the administration and management of the most common. Minimal budget.

2. A part of the school board, according to the PDCA cycle quality at every stage in the middle. By engaging in the most practical procedure to determine the least.

3. Factors that encourage participation, including the two factors.

     3.1 School factors include (1) the management of knowledge, an intellectual.Human vision and understanding of the community, (2) characteristics of people who have good interpersonal skills. With good behavior. Honest. Responsible. Knowledge and understanding of community, (3) the nature of the school, including the school board meetings, practices and roles of the Board of Directors. Acceptance and opportunity for comment. The cooperation and cover. Facilitate the practice of public relations and dissemination of information to the Board on a regular basis (4) the performance of the teachers and staff were supportive and involved in the community as the opportunity to develop programs and activities for learning. Students focus on the quality and performance of the various schools.

     3.2 Community factors include (1) the directors on the Board of Directors.What education is tolerance education. Are willing to cooperate in the development of youth. Be ready in a time of economic stability in order to join the board of education (2) the nature of the community and people in the community, including community with community members the importance of education. Interests of their own community. And taking into account the interests of the collective sacrifice is.

4. Factors that hinder the participation of school board has two groups of factors as well as factors that promote the participation of the school board. However, in contrast, is a barrier to the participation of the school board.


Article Details

บท
บทความวิจัย