รูปแบบส่วนต่อประสาน เพื่อการนำเสนอสารสนเทศคุณภาพการบริหารงบประมาณโรงเรียนเอกชน
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์และออกแบบ, สารสนเทศคุณภาพ, การบริหารงบประมาณ, รูปแบบส่วนต่อประสาน, Analysis and Design, Quality Information, Budgeting Management, Interaction Stylesบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และออกแบบตัวแบบสารสนเทศคุณภาพของการบริหารงบประมาณโรงเรียนเอกชน และ 2) ศึกษาและพัฒนารูปแบบส่วนต่อประสานที่เหมาะสมในการนำเสนอสารสนเทศคุณภาพการบริหารงบประมาณโรงเรียนเอกชน การวิจัยและพัฒนานี้ดำเนินการใน 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบและพัฒนาสารสนเทศการบริหารงบประมาณ และขั้นตอนที่ 2 ออกแบบและพัฒนารูปแบบส่วนต่อประสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือโรงเรียนเอกชนจำนวน 18 โรงเรียนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้จัดการหรือผู้อำนวยการ จำนวน 18 คน ผู้ช่วยผู้อำนวยการ จำนวน 18 คน และหัวหน้าการเงิน จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ตัวแบบสารสนเทศคุณภาพการบริหารงบประมาณ แบบสอบถามการยอมรับสารสนเทศคุณภาพการบริหารงบประมาณ 5 ระดับ ตามวิธีของลิเคิร์ท รูปแบบส่วนต่อประสานเพื่อนำเสนอสารสนเทศคุณภาพและแบบสอบถามการยอมรับของผู้ใช้ที่มีต่อรูปแบบส่วนต่อประสาน 7 ระดับ ตามวิธีของออสกูด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์
ผลจากการวิจัย พบว่า
1. ตัวแบบสารสนเทศคุณภาพที่ผ่านนการออกแบบและพัฒนาประกอบด้วย 1) สารสนเทศด้านโรงเรียน ได้แก่ สารสนเทศเกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่ายของโรงเรียน 2) ด้านครูและบุคลากร ได้แก่ สารสนเทศเกี่ยวกับการเบิกจ่ายสวัสดิการของครู และ 3)ด้านนักเรียน ได้แก่ สารสนเทศเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินอุดหนุนของนักเรียน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้มีความเห็นสอดคล้องกันอยู่ในระดับมากที่สุด
2. รูปแบบส่วนต่อประสาน 3 รูปแบบที่ใช้ในการศึกษา คือ การกรอกแบบฟอร์มการให้เลือกเมนูและการสั่งโดยตรง โดยรูปแบบส่วนต่อประสานที่เหมาะสมสำหรับผู้จัดการหรือผู้อำนวยการ และผู้ช่วยผู้อำนวยการคือรูปแบบการสั่งโดยตรงส่วนหัวหน้าการเงินใช้รูปแบบการกรอกแบบฟอร์ม โดยผู้ใช้มีความเห็นสอดคล้องกันในการใช้รูปแบบส่วนต่อประสานที่ผู้ใช้เลือกอยู่ในระดับมากที่สุด
งานวิจัยนี้สร้างองค์ความรู้ใหม่คือการออกแบบสารสนเทศคุณภาพการบริหารงบประมาณ และรูปแบบส่วนต่อประสานที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำเสนอสารสนเทศคุณภาพซึ่งโดยปกติแล้วการพัฒนาสารสนเทศการบริหารงบประมาณยังไม่มีปรากฏเด่นชัด ยังไม่ครอบคลุมงานบริหารและการนำเสนอสารสนเทศยังคงใช้รูปแบบเดิมและเหมือน ๆ กันโดยไม่คำนึงถึงระดับผู้ใช้งาน ซึ่งในความเป็นจริงรูปแบบส่วนต่อประสานนั้นมีผลต่อการนำเสนอสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จ
USER INTERFACE MODEL FOR PRESENTATION OF QUALITY INFORMATION FOR BUDGET MANAGEMENT OF PRIVATE SCHOOLS
This research aimed to: 1) analyse and design a quality information model for budget management of private schools,and 2) examine and develop appropriate user interface styles for presenting quality information for budget management of private schools. The research and development were conducted in two stages. The first stage was to create quality information for budget management. The second stage was to examine and develop user interface styles for the information created. The sample used for this research was 18 private schools in PrachuapKhiri Khan province using stratified random sampling method. The subjects included 18 managers/directors, 18 assistant directors, and 18 financial control officers. Tools used in the research consisted of a quality information model for budget management, the acceptance questionnaire for the quality information model proposed based on a 5-point Likert scale, the user interface styles for presenting quality information, and the user acceptance questionnaire using a 7-point Osgood scale. Statistics used for data analysis were median and interquartile range.
The results of the research were as follows:
1. The quality information model designed and developed was comprised of 1) school information, including income and expenses,2) teachers and staff information, including disbursement of welfare of teachers, and 3) students information,including expenditure on student’s subsidies, all of which were agreed by the experts and users at the highest level.
2. Three user interface styles were examined, namely formfilling, menu selection and direct manipulation. The most appropriate user interface style for the managers/directors and the assistant directors was the direct manipulation style,whereas the form filling style was the most appropriate user interface style for the financial control officers. Users had the highest level of mutual agreement on the use of chosen interface style.
This research has proposed a novel design of the quality information for budget management and a novelty of the user interface study for the quality information presentation. Generally, work on the development of information for budget management was very sparse and not inclusive for all administrative tasks. In addition, presentation of information still used traditional and similarforms, regardless of the user levels, which in fact the appropriate user interface style was crucial for the success of information presentation.