ความสัมพันธ์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับงานวิชาการของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 2) งานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 และ 3)ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยศึกษาตัวอย่างจากสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำนวน 70 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบงานสัมพันธ์ชุมชน ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสิ้น จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดของสวอนเบอร์ก (Swansburg) และงานวิชาการของสถานศึกษาตามระเบียบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล ของกระทรวงศึกษาธิการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า
1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ความยึดมั่นผูกพันการตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน ความเป็นอิสระต่อความรับผิดชอบในงาน และการไว้วางใจกัน ตามลำดับ
2. งานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับ ด้านกระบวนการเรียนรู้ มีมัชฌิมเลขคณิตสูงสุด รองลงมา คือ ด้านหลักสูตรสถานศึกษาและด้านวิชาการที่ให้แก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หรือหน่วยงานอื่น มีมัชฌิมเลขคณิตน้อยที่สุด
3. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา กับงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
THE RELATIONSHIP BETWEEN THE PARTICIPATION MANAGEMENT AND ACADEMIC AFFAIRS OF SCHOOLS IN KANCHANABURI PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 3
The purposes of this research were to determine: (1) the participation management of schools in Kanchanaburi primary education service area office 3, (2) the academics affairs of school in Kanchanaburi primary education service area office 3, and (3) the relationship between participation management and academics affairs of school in Kanchanaburi primary education service area office 3. Seventy primary schools in Kanchanaburi primary education service area office 3, were the sample of this research, and respondents from each school were the administrator, 1 teacher who responsibility on public relation and 1 representator from basic education school committee, totally 210 respondents. The instrument was employed by a questionnaire concerning to the participation management based on Swansburg’s concept, and the academic affairs of school concerning to the academic affairs management regulations of juristic school of the ministry of education. The statistical analysis were frequency,percentage,arithmetic mean, standard deviation,and Pearson’s product moment correlation coefficient.
The findings were as follows:
1. The participation management of schools in Kanchanaburi primary education service area office 3, was high in overall view, by sorting from high to low mean as follows; strictly commitment setting, aims and joint objectives, autonomy to work responsibility and trust one another respectively.
2. The academics affairs of school in Kanchanaburi primary education service area office 3, was high in overall view; by sorting from high to low mean as follows; by learning process was the highest mean, followed by school curriculum and academics to persons, families, organizations and other work units had the least mean.
3. The participation management and the academic affairs of school in Kanchanaburi primary education service area office 3, were correlated by significantly at the level of .01.