ระบบสารสนเทศกับการจัดการความรู้ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1

Main Article Content

สุนิตา สุบินยัง
สำเริง อ่อนสัมพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ระบบสารสนเทศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 2) การจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศกับการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดของโอเบรนและ มารากัส (O’Brien and Marakas) ในเรื่องระบบสารสนเทศและนำแนวทางการจัดการความรู้ของบุญดี บุญญากิจ และคณะ โดยกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 จำนวน 126 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน ได้แก่ ครูฝ่ายวิชาการ ครูผู้ทำหน้าที่งานสารสนเทศและครูสอนคอมพิวเตอร ์ รวมทั้งสิ้น จำนวน 378 คน สถิติที่ใชใ้ นการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (arithmetic mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และการวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product – moment correlation coefficient)

ผลการวิจัยพบว่า

1) ระบบสารสนเทศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ การเก็บสำรองข้อมูล ปัจจัยนำเข้าของข้อมูล ผลลัพธ์ของสารสนเทศ การควบคุมระบบปฏิบัติการ และทรัพยากรสารสนเทศ ตามลำดับ

2) การจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก จำนวน 3 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การเรียนรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ การเข้าถึงความรู้ และอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 4 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การค้นหาความรู้ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ การจัดการความรู้ให้เป็นระบบและการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ตามลำดับ และ

3) ระบบสารสนเทศกับการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

INFORMATION SYSTEMS AND KNOWLEDGE MANAGEMENT IN SCHOOLS UNDER RATCHABURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

The purposes of this research were explored 1) information systems in Schools under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 1 2) knowledge management in Schools under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 1 and 3) information systems and knowledge management in Schools under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 1.The sample used in this research were 126 schools in Schools under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 1. The respondents were three academic teachers; the teachers work in on information system and computer teacher,the total was 378 persons.The statistic used to analyze the data were frequency,percentage,mean, standard deviation and Pearson’s product – moment correlation coefficient.

The findings of research revealed that:

1. Information systems in Schools under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 1, as a whole and as an individual, aspect were at the high level, ranking from the highest to the lowest mean; processing data into information,storage of data resource, input of data resources, output of information products, control of system performance and information
system resources.

2. Knowledge management in Schools under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 1, as a whole aspect were at the high level. When considering in individual, it were found that three sides were at the high level, ranking from the highest to the lowest mean; learning, knowledge creation and acquisition and knowledge access and four sides were at the medium level, ranking from the highest to the lowest mean; knowledge ทidentification, knowledge codification and refinement, knowledge organization and knowledge sharing.

3. Information systems was related knowledge management in schools under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 1, at .05 level of significance.


Article Details

บท
บทความวิจัย