แรงจูงใจกับการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผู้แต่ง

  • เถลิงศักดิ์ อินทรสร สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นุชนรา รัตนศิระประภา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) แรงจูงใจของพนักงานรักษาความปลอดภัย ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2) การปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ 3) แรงจูงใจกับการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ พนักงานรักษาความปลอดภัย ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รวมทั้งสิ้น 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจตามทฤษฎีของ เฮอร์ซเบอร์ก (Herzberg) และคณะ และการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตามข้อกำหนดอ้างอิงการปฏิบัติงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. แรงจูงใจของพนักงานรักษาความปลอดภัย ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตัวแปรย่อยในแต่ละปัจจัย พบว่า ความรับผิดชอบ ลักษณะของงาน ความสำเร็จของงาน สถานะของอาชีพความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา นโยบายและการบริหารงาน และสภาพการทำงาน อยู่ในระดับมาก ส่วนการได้รับการยอมรับนับถือ ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน ความมั่นคงในงาน และเงินเดือน อยู่ในระดับปานกลาง

2. การปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า งานวิทยุสื่อสารและกล้องวงจรปิด งานอุบัติภัยและอัคคีภัย และงานจราจรและที่จอดรถอยู่ในระดับมาก ส่วนงานรักษาความปลอดภัย อยู่ในระดับปานกลาง


3. แรงจูงใจกับการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

 

THE MOTIVATION AND PERFORMANCE OF SECURITY PERSONNEL IN KING MONGKUT’S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY THONBURI

The purposes of this research were to find 1) the motivation of the security personnel in King Mongkut’s University of Technology Thonburi, 2) the performance of the security personnel in King Mongkut’s University of Technology Thonburi,and 3) the relationship between the motivation and the performance of the security personnel in King Mongkut’s University of Technology Thonburi. The samples were 113 security personnel in King Mongkut’s University of Technology Thonburi. The research instrument was a questionnaire based on the motivation of Herzberg and others, and the performance of the security personnel in King Mongkut’s University of Technology Thonburi based on the terms of reference performance. The statistics applied in data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient.

The findings of the study are as follows:

1. The motivation of the security personnel in King Mongkut’s University of Technology Thonburi in overall were at the high level. When considering most variables of each factors found that responsibility, work itself, achievement, status,interpersonal relation with superior, company policy an administration and working condition were at the high level. While recognition, advancement, job security and salary were at the middle level.

2. The performance of the security personnel in King Mongkut’s University of Technology Thonburi was at a high level. When considering each aspect, the results showed that radio communication and closed circuit camera, accidents and fire and traffic and vehicle parking were at the high level while security was at the middle level.

3. The relationship between the motivation and the performance of the security personnel in King Mongkut’s University of Technology Thonburi was found at .01 level of significant.


Downloads