การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับธรรมาภิบาลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร

Main Article Content

เกษมศรี จาตุรพันธ์
ศิริชัย ชินะตังกูร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร 2) ธรรมาภิบาลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับธรรมาภิบาลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 22 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 4 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูผู้สอน 2 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 88 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วม ตามแนวคิดของ สวอนสเบิร์ก (Swansburg) กับธรรมาภิบาล ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (arithmetic mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient)

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาครอยู่ในระดับมากทั้งโดยภาพรวมและแยกพิจารณาในแต่ละด้าน

2. ธรรมาภิบาลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร อยู่ในระดับมาก ทั้งโดยภาพรวมและแยกพิจารณาในแต่ละด้าน

3. การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับธรรมาภิบาลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมและรายคู่ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

PARTICIPATIVE MANAGEMENT AND GOOD GOVERNANCE OF SCHOOLS UNDER
THE OFFICE OF SAMUTSAKHON EDUCATIONAL SERVICE AREA

The purposes of this research were to determine 1) participative management by administrator of schools under the Office of Samutsakhon Educational Service Area, 2) good governance of schools under the Office of Samutsakhon Educational Service Area, and 3) the relationship between participative management and good governance of schools under the Office of Samutsakhon Educational Service Area. The samples were 22 schools under the Office of Samutsakhon Educational Service Area. The respondents from each school were the director, assistant director, and 2 teachers with the total of 88. The instrument was a questionnaire about participative management based on Swansburg concept and good governance based on the Regulation of Prime Minister’s Office. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean,standard deviation, and Pearson’s product – moment correlation coefficient.

The findings of the research were as follows :

1. participative management of schools administrators under the Office of Samutsakhon Educational Service Area,as a whole and as an individual, was at a high level.

2. good governance of schools under the Office of Samutsakhon Educational Service Area, as a whole and as an individual, was at a high level.

3. participative management and good governance of schools under the Office of Samutsakhon Educational Service Area, as a whole and in pair, was found correlated at .01 level of significance.


Article Details

บท
บทความวิจัย