การนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 2) การปฏิบัติงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานวิชาการ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 จำนวน 113 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอนโรงเรียนละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 452 คน เครื่องมือที่ใชใ้ นการวิจัยเปน็ แบบสอบถามตามแนวคิดของกลิคแมน กอรด์ อน และรอซ กอรด์ อน (Glickman,Gordon and Ross-Gordon) สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. การปฏิบัติงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและ
รายด้านอยู่ในระดับมาก
3. การนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
SUPERVISION OF SCHOOL ADMINISTRATORS AND ACADEMIC PERFORMANCE OF
SCHOOLS UNDER RATCHABURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
The objectives of this research were to find : 1) the supervision of school administrators under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2, 2) the academic performance of schools under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2, 3) the relationship between the supervision of school administrators and academic performance of schools under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2. The sample of this research were 113 schools under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2. The four respondents from each school were administrators and teachers total of 452 respondents. The research instrument for collecting the data was a questionnaire based on Glickman, Gordon and Ross-Gordon’s concept. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient.
The findings revealed that:
1. The supervision of school administrators under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2,in overall and each aspect, were rated at a high level.
2. The academic performance of schools under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2, in overall and each aspect, were rated at a high level.
3. There was a relationship between the supervision of school administrators and academic performance of schools under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2 at .01 level of significance.