การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับผลการปฏิบัติงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร ในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1 2) ผลการปฏิบัติงานวิชาการ ในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร กับผลการปฏิบัติงานวิชาการ ในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1 โดยใช้สถานศึกษาเป็นหน่วยวิเคราะห์ สถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1 จำนวน 36 โรง ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้ปฏิบัติราชการแทน หัวหน้าฝ่ายวิชาการหรือครูวิชาการ และครูผู้สอน จำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามแนวคิดของ เดวิด (David) และการปฏิบัติงานวิชาการ ตามแนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ.2550 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ (f ) ร้อยละ (%) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1 โดยภาพรวม
และรายด้าน อยู่ในระดับมาก
2. ผลการปฏิบัติงานวิชาการ ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1 โดยภาพรวมและรายด้าน
อยู่ในระดับมาก
3. การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับผลการปฏิบัติงานวิชาการ ในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1 มีความสัมพันธ์กันทางบวก โดยภาพรวม อยู่ระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01
STRATEGIC MANAGEMENT AND ACADEMIC AFFAIRS PERFORMANCE OF SCHOOLS UNDER THE PROVINCIAL ADMINISTRATION ORGANIZATION,LOCAL EDUCATION GROUP I
The purposes of this research were to determine 1) the strategic management of school administrators 2) the academic affairs performance of school and 3) the strategic management and academic affairs performance of schools under the Provincial Administration Organization, Local Education Group I. The samples were 36 schools under the Provincial Administration Organization, Local Education Group I. The respondents were school administrators or deputy school administrators, heads of academic affairs department or teachers in Academic Affairs Department, and teachers, in the total of 144 persons. The research instrument was a questionnaire based on the strategic management theoretical conceptual frameworks of
Fred R. David and the academic affairs performance of Decentralization Approach and Educational Administration for the Committee of Educational Service Area Offices and schools according to the ministerial regulations on Principles, Decentralization Approach and Educational Administration B.E. 2550. The statistics used in data analyzing were frequencies (f), percentage (%), arithmetic mean (x̅), standard deviation (S.D.) and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient.
The findings were as follows ;
1. The strategic management of school administrators under the Provincial Administration Organization, Local Education Group I, as a whole and as an individual aspect, was at a high level.
2. The academic affairs performance of schools under the Provincial Administration Organization, Local Education Group I, as a whole and as an individual aspect, was at a high level.
3. There was the significant relationship between the strategic management of school administrators and the academic affairs performance of schools under the Provincial Administration Organization, Local Education Group I at .01 level of statistical significance.