ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1

Main Article Content

อุราภรณ์ คูนาเอก
ศิริชัย ชินะตังกูร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1 2) การนิเทศในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1 3) ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1 เป็นหน่วยวิเคราะห์ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือหัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอน จำนวน 113 โรงเรียน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 452 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหาร ตามแนวคิดของแคทซ์ (Katz) และการนิเทศในโรงเรียนตามแนวคิดของ สงัด อุทรานันท์ สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ทักษะการบริหารของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยดังนี้ ทักษะด้านมนุษย์ ทักษะด้านมโนภาพ และทักษะด้านเทคนิค

2. การนิเทศในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยดังนี้ การสร้างเสริมกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานนิเทศ การให้ความรู้ก่อนการดำเนินงานนิเทศ การวางแผนการนิเทศ การดำเนินการปฏิบัติงานนิเทศ และการประเมินการนิเทศ

3.ทักษะการบริหารของผู้บริหารด้านมโนภาพและด้านเทคนิคส่งผลต่อการนิเทศในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1

 

THE ADMINISTRATIVE SKILLS OF ADMINISTRATORS AFFECTING SCHOOL
SUPERVISION IN KANCHANABURI EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

The study aimed to investigate : 1) the administrative skills of school administrators, 2) school supervision, and 3) the administrative skills effecting school supervision in Kanchanaburi Educational Service Area Office 1. The study was a descriptive research, using schools in Kanchanaburi Educational Service Area Office 1 as the unit of analysis. The respondents were school directors, deputy directors or heads of academic affair and teachers of 110 schools, with the total respondents of 440.The research instrument was questionnaire concerning administrative skills, based on Katz and school supervision based on Sangad Utranan. The statistics used to analyze data were frequency, percentage, mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis.

The research found that:

1. The administrative skills of school administrators in Kanchanaburi Educational Service Area Office 1, as a whole,were found at the high level, and as an individual ranking from the highest to the lowest mean were : human skills, conceptual skills and technical skills.

2. School supervision in Kanchanaburi Educational Service Area Office 1, as a whole, was found at the high level;and an individual, 5 aspects were found at the high level, ranking from the highest to the lowest were moral support for those working in supervision, pre-training before working in supervision, supervision planing, supervision implementation,and
evaluation of superevision.

3. The Administrative skills of school administrators : conceptual skills and technical skills affected the school supervision in Kanchanaburi Educational Service Area Office 1.


Article Details

บท
บทความวิจัย