THE DEVELOPMENT OF THE EFFECTIVE SUB DISTRICT SCHOOLS THROUGH THE PARTNERSHIP PROCESS IN THAILAND

ผู้แต่ง

  • Mullawee Rochefolle สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • Nopadol Chenaksara สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

The purposes of this research were to determine: 1) the baseline process of the partnership in schools, 2) the guidelines of efficient partnership process development for schools and 3) the development innovation of the partnership process in the Effective Sub District Schools. The research procedures consisted of 3 steps: 1) analyze the research conceptual frameworks on the basis of principles, concepts and theories of partnership, 2) set the manual and models of efficient partnership process in schools, 3) experiment in the sampling schools for a semester in order to look for the feasibility the proposed models of partnership process in schools towards the development innovation of the partnership process in the Effective Sub District Schools. The samples consisted of 64 schools; the respondents were school administrators and teachers,totally 192 persons. This was performed to study the feasibility of the development models of partnership process in the Effective Sub District School. The consideration of the matter models was used by the focus group and connoisseurship. The research instruments were document analysis, the semi-structured interview, the manual and the questionnaires. The statistics in analyzing the data were frequency, percentage, arithmetic mean (X), standard deviation (S.D.), content analysis and the analysis of variance (ANOVA).

The research findings reveal that:

1. There were 7 baseline processes of the partnership in schools which were 1) the school must know itself and participate with the School Board Committee for developing schools; 2) the school made a plan by applying the result of the school analysis; 3) the school knew the partnership and analysis; 4) the school cooperated with partnership; 5) the school set the meeting and planning with the partnership; 6) the school implemented and 7) the school reported back to the partnership.

2. The guideline of the efficient partnership process in schools formed into 3 models: 1) proactive model 2) passive model and 3) proactive and passive model. It includes the internal and external components around the schools which were the school administrators, community, the school strategic plans, the vision and the mission and administration
system

3. The manual of partnership models in the Effective Sub District School Model included 7 baseline processes of the partnership in school and the guideline of the efficient partnership process which was found appropriate, accurate, possible useful and in accordance with the research conceptual frameworks.

 

การพัฒนาโรงเรียนดีประจำตำบลผ่านกระบวนการภาคีเครือข่ายในประเทศไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ทราบสภาพการดำเนินงานในปัจจุบันของภาคีเครือข่าย 2) แนวทางการพัฒนาภาคีเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสำหรับโรงเรียน และ 3) นวัตกรรมการพัฒนาของกระบวนการภาคีเครือข่ายสำหรับโรงเรียนดีประจำตำบล ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 1) กำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยจากหลักการพื้นฐาน ทฤษฎีของภาคีเครือข่าย 2) การสร้างคู่มือและรูปแบบการพัฒนาภาคีเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสำหรับโรงเรียน 3) การทดลองในโรงเรียน เพื่อหาความเป็นไปได้ในการประยุกต์รูปแบบการพัฒนาภาคีเครือข่าย อันจะนำไปสู่นวัตกรรมการพัฒนาของกระบวนการภาคีเครือข่ายสำหรับโรงเรียนดีประจำตำบล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 192 คน จาก 64 โรงเรียน การพิจารณารูปแบบดังกล่าวใช้รูปแบบการสนทนากลุ่ม (focus group) และการอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง คู่มือแนะแนวทางการพัฒนาภาคีเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสำหรับโรงเรียน และ แบบสอบถามความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้รูปแบบและคู่มือแนวทางการพัฒนาภาคีเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสำหรับโรงเรียนสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน

ผลการวิจัยพบว่า

1. กระบวนการการดำเนินงานเกี่ยวกับภาคีเครือข่ายในโรงเรียน ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 1) โรงเรียนต้องรู้จักตนเองและร่วมมือกับคณะกรรมการสถานศึกษาในการพัฒนา 2) โรงเรียนจัดทำแผน 3) โรงเรียนสืบเสาะหาภาคีเครือข่ายและวิเคราะห์ 4) โรงเรียนประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย 5) โรงเรียนจัดการประชุมเพื่อจัดทำแผนร่วมกับภาคีเครือข่าย 6) โรงเรียนดำเนินการ และ 7) โรงเรียนรายงานผลกลับสู่ภาคีเครือข่าย

2. แนวทางการพัฒนาภาคีเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพในโรงเรียน นำเสนอใน 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1) รูปแบบเชิงรุก 2) รูปแบบเชิงรับ และ 3) รูปแบบทั้งเชิงรุกและเชิงรับ จะรวมถึงองค์ประกอบทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ชุมชน แผนกลยุทธ์ วิสัยทัศน์และพันธกิจ และระบบบริหารจัดการ

3. คู่มือของรูปแบบการพัฒนากระบวนการภาคีเครือข่ายในโรงเรียนดีประจำตำบล เกิดจากการนำกระบวนการการดำเนินงานทั้ง 7 ขั้นตอน และแนวทางการพัฒนาภาคีเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพในโรงเรียน มีความเหมาะสมถูกต้อง เป็นไป
ได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สอดคล้องกับกรอบแนวคิดทฤษฎีของการวิจัย

 


Downloads