มาตรวัดการจัดการความรู้

Main Article Content

เพ็ชรรัตน์ ฮีมินกูล
นพดล เจนอักษร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อทราบองค์ประกอบการจัดการความรู้ของสถานศึกษา และ 2. เพื่อเสนอมาตรวัดการจัดการความรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามการจัดการความรู้ 2) มาตรวัดการจัดการความรู้ซึ่งเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่พัฒนาขึ้นและตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ที่ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอก รอบที่สองและมีผลการประเมินในระดับดีมากทุกมาตรฐาน จำนวน 98 โรง มีผู้ให้ข้อมูลโรงละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 1 คน บุคลากรครู 2 คน รวมทั้งสิ้น 294 คน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบการจัดการความรู้ของสถานศึกษาที่วิเคราะห์ด้วยวิธี Content Analysis ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านการปฏิบัติ 3) ด้านการตรวจสอบ 4) ด้านการตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข

2. มาตรวัดการจัดการความรู้ แสดงผลลัพธ์บนหน้าปัทม์ที่มีเข็มชี้บอกระดับ และคะแนนของการจัดการความรู้เป็นเชิงประจักษ์ ได้ผลลัพธ์อยู่ในระดับดีทุกด้าน และมีคะแนนด้านการวางแผน 40 คะแนน ด้านการปฏิบัติ 80 คะแนน ด้านการตรวจสอบ 40 คะแนน และด้านการตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข 40 คะแนน

 

THE METER OF KNOWLEDGE MANAGEMENT

The purposes of this research were to determine the knowledge management factor of schools and the knowledge management measurement. The instrument used in this study were 1) the knowledge management questionnaire, and 2) the knowledge management measurement which was developed from the software and checked by the expert. The sample of this study was 98 schools under the office of the Basic Education which had an external assessment and evaluation results at very satisfactory. The respondents composed of one administrator and 2 teachers in each school,totally 294 people. The statistical used Arithmetic mean, standard deviation, and percentage by using computer software and
programs developed as called “The Meter of Knowledge Management”.

The results showed that Knowledge management component of the school(Content Analysis) was consisted planning, practice, audit, and monitoring and improvement. When the knowledge management measurement program analyze of the plan, practice, audit, and monitoring and improvement, the results were good in all aspects and proposed 40 points of planning, 80 points of practice, 40 points of audit and 40 points of monitoring and improvement. The Meter of knowledge management program can be displayed on a dial with a needle point and scores of knowledge management are clearly visible.


Article Details

บท
บทความวิจัย