ปัจจัยเอื้อที่ทำให้เกิดการทุจริตต่อหน้าที่ของบุคลากร สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

Main Article Content

จินตนา พลอยภัทรภิญโญ
นพดล เจนอักษร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ปัจจัยเอื้อที่ทำให้เกิดการทุจริตต่อหน้าที่ของบุคลากร สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และ 2) แนวทางการป้องกันการทุจริตต่อหน้าที่ของบุคลากร สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย บนพื้นฐานของหลักการแนวคิดทฤษฎี เกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิดการทุจริตต่อหน้าที่ ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ปัจจัยเอื้อที่ทำให้เกิดการทุจริตต่อหน้าที่ของบุคลากร สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความสอดคล้องและยืนยันผลการวิจัยด้วยการพิจารณาข้อมูลจากความคิดเห็นและประสบการณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้การสนทนากลุ่ม (focus group) กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ บุคลากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 763 คนเพื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยเอื้อที่ทำให้เกิดการทุจริตต่อหน้าที่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสอบถามเพื่อตรวจสอบและยืนยันผลการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1) ปัจจัยเอื้อที่ทำให้เกิดการทุจริตต่อหน้าที่ของบุคลากร สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มี 8 ปัจจัย ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ การใช้อำนาจของตำแหน่งในทางมิชอบ โอกาสที่ทำให้เกิดการทุจริต ระบบอุปถัมภ์ ทัศนคติต่อการทุจริต ความมีคุณธรรมประจำใจ สภาพเศรษฐกิจ และ การบริหารจัดการของหน่วยงาน

2) แนวทางการทุจริตต่อหน้าที่ของบุคลากร สังกัด กระทรวงศึกษาธิการพบว่ามี 5 แนวทาง ได้แก่ การควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และกำกับดูแลในการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งของทางราชการ การปลูกฝังค่านิยม อุดมการณ์ ของการเป็นข้าราชการที่ดีไม่แสวงหาผลประโยชน์ทุกรูปแบบที่มิควรได้จากการปฏิบัติหน้าที่เพื่อตนเองและพวกพ้อง การยกย่อง เชิดชูเกียรติผู้ที่ประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นเยี่ยงอย่างในด้านความซื่อสัตย์ สุจริต การปรับปรุงอัตราเงินเดือน ค่าครองชีพ ที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและระบบสวัสดิการภายหลังจากเกษียณราชการ และการบริหารงานอย่างโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล

 

CONDUCIVE FACTORS TO CORRUPTION OF PERSONELS UNDER THE MINISTRY
OF EDUCATION

The purposes of this research were: 1) to determine the conducive factors to corruption of personels under the Ministry of Education, and 2) to find the guild line for prevention of corruption for the personels under the Ministry of Education. The research procedures consisted of 3 steps as follow: 1) Analyze the research conceptual frameworks on the basis of theories of corruption. 2) Analyze of conducive of factors to corruption of personels under the Ministry of Education. 3) Verify and confirm the research finding by focus group. The samples consisted of 763 personels under the Ministry of Education. The research instruments were the structured interview form, opinionnaires for measuring conducive factors of corruption and the questionnaire for checking and confirming the research findings. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, exploratory factor analysis and content analysis.

The research findings revealed that:

1. The conducive factors to corruption of personels under the Ministry of Education consisted of eight factors which were; 1) malpractice 2) position and rank 3) opportunity 4) patronization 5) attitude 6) economics 7) moral 8) management of authority

2. The guidelines for preventing corruption include five categories; 1) Controlling, monitoring, inspecting, and follow the laws, regulation, rules and ministerial decree 2) Inculcate in attitude, and ideology’s officials do not find the benefit for themselves and relatives 3) Praising for honesty 4) Improving appropriate salaries ,expenses and welfare after retirement 5) Managing with transparency.


Article Details

บท
บทความวิจัย