ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของปัจจัยการส่งเสริมการวิจัยที่มีประสิทธิภาพในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
คำสำคัญ:
ปัจจัยการส่งเสริมการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ, ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง, research – supported efficiency factor, structural relationshipบทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1)ปัจจัยการส่งเสริมการวิจัยที่มีประสิทธิภาพในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2)ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของปัจจัยการส่งเสริมการวิจัยที่มีประสิทธิภาพในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ 3)ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของปัจจัยการส่งเสริมการวิจัยที่มีประสิทธิภาพในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครู ปีงบประมาณ 2554 รวมจำนวน 400 คน ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้ตารางของทาโร ยามาเนที่ค่าความเชื่อมั่น 95 % ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เก็บรวบรวมจำนวน 2 รอบและนำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การวิเคราะห์ Confirmatory Factor Analysis (CFA) ใช้การวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์สถิติ LISREL และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ของตัวแปรต้นปัจจัยการส่งเสริมการวิจัยที่มีประสิทธิภาพในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วยปัจจัย 4 ปัจจัยคือ ปัจจัยด้านหน่วยงาน ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านกระบวนการบริหารและปัจจัยด้านอื่น ๆ และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ของตัวแปรตามการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ พบว่า ประกอบด้วยปัจจัย 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านประโยชน์ของงานวิจัย และปัจจัยด้านคุณภาพของงานวิจัย
2) ปัจจัยการส่งเสริมการวิจัยที่มีประสิทธิภาพทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง
3) ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยกับความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของปัจจัยการส่งเสริมการวิจัยที่มีประสิทธิภาพในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และได้เสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ คือ มีการรวมกลุ่ม/แกนนำสร้างเครือข่ายและขยายผลให้ทั่วถึง จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางการวิจัย การจัดอบรม ประชุมสัมมนา ความรู้ และแนวปฏิบัติงานวิจัยแก่ครูอย่างต่อเนื่อง
THE LINNEAR STRUCTURAL RELATIONSHIP OF RESEARCH - SUPPORTED EFFICIENCY FACTORS IN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREAS
The purposes of this research were to know 1) research – supported efficiency factors in primary educational service areas 2) the linear structural relationship of research – supported efficiency factors in primary educational service areas and 3) the opinions of the experts about the linear structural relationship of research – supported efficiency factors in primary educational service areas . The samples used in this research were the vice directors, supervisors and teachers in primary educational service areas in the fiscal year 2554 total of 400 people by using table of Taro Yamane at the 95 percent reliability. The samples were selected using stratified random sampling.The research instruments were questionnaire. The collection of information was collected for 2 rounds and the data was analyzed by means, standard deviation, confirmatory factor analysis (CFA), LISREL statistic and content analysis.
The research finding revealed that :
1. The analysis of the confirmation factor analysis (CFA) of the variable factors in the promotion of research in primary educational service areas consists of the four factors : 1) the agency factors 2) the human factors 3) the management process factors and 4) the other factors, and the analysis of the confirmation factor analysis (CFA) of the variables under study have found that it contains two factors : the benefits of the research and the quality of research.
2. The promotion of effective structure factors are related.
3. Experts agree with the linear structural relationship of research supported efficiency factors in primary educational service areas, and suggested the guidelines for promotion of research on the effectiveness of the group / leader,creating a network and extend the coverage, exchange and learning through research,training, seminars and practical knowledge to teachers continually.