การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1

Main Article Content

อารีวรรณ์ ปักกาเวสูง
สัมมา รธนิธย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 (2) เพื่อเปรียบเทียบบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลจำแนกตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 และ (3) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาจำแนกตามหลักธรรมาภิบาล ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.92 ความเที่ยงตรงรายข้อระหว่าง 0.8-1.0 รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 123 คน และครู จำนวน 320 คน จำนวนแบบสอบถาม 443 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์คืนทั้งสิ้น 393 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 88.71 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติที่เป็นค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-Test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค LSD

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน

2. ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลจำแนกตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูพบว่า
โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแต่ละด้านพบว่าในแต่ละด้านตามหลักการต่างๆ มีการปฏิบัติแตกต่างกันยกเว้นการบริหารงานวิชาการ ตามหลักคุณธรรมที่มีการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

3. ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาจำแนกตามหลักธรรมาภิบาลพบว่า โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติไม่แตกต่างกันเกือบทุกด้าน ยกเว้นด้านการบริหารงานบุคลากรที่มีความแตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่พบว่าการบริหารงานบุคลากรตามหลักคุณธรรม ความโปร่งใส และความรับผิดชอบ มีการปฏิบัติมากกว่าการบริหารงานบุคลากร ตามหลักนิติธรรม และการบริหารงานบุคลากรตามหลักความโปร่งใส มีการปฏิบัติมากกว่าการบริหารงานบุคลากรตามหลักความคุ้มค่านอกนั้นไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

THE SCHOOL ADMINISTRATION USING THE GOOD GOVERNANCE FOR SCHOOLS
UNDER NAKHONRATCHASIMA PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

The purposes of this survey research are: (1) to study the level of good governance in school administration from the perspective of school executives and teachers in the Nakhonratchasima Primary Educational Service Area Office 1;(2) to make analysis comparison of school administration based on good governance classified according to the opinion of school executives and teachers in theNakhonratchasima Primary Educational Service Area Office 1; and (3) to compare,in the Nakhonratchasima Primary Educational Service Area Office 1, school administration classified by good governance according to the opinion of school executives and teachers.In this regard, a total of 443 questionnaires with the levels of 0.92 reliability and 0.81-1.00 line item validity was sent out. Of all questionnaires, 393 (88.72 percent) were completed and returned. The received data was analysed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and one-way ANOVA. Then, the LSD technique was applied when differences were founded.

The research findings are as follows:

1. In the opinion of school executives and teachers in the Nakhonratchasima Primary Educational Service Area Office 1, the level of good governance in school administration is high in general and all aspects.

2. The comparative results of school administration with good governance classified according to the opinion of school executives and teachers demonstrate variety in practice. In each aspect, practice is relatively various, except for academic administration which has insignificant diversity at the statistic level of 0.05.

3. The comparative results of school administration classified by good governance present insignificant differences in general and almost all aspects, apart from personnel administration. The pairing analysis demonstrates that in the field of personnel administration morals, transparency and accountability have been practiced more than the rules of law,while transparency has been practiced more than worthiness. However, the rest outcomes present immaterial differences at the statistic level of 0.05.

Article Details

บท
บทความวิจัย