สมรรถนะของผู้บ้ริหารกับการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1. สมรรถนะของผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 2. การปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 และ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 จำนวน 81 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 4 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) และกาปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาจากเกณฑ์มาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพครู ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้แก่ ความถี่ (f) ร้อยละ (%) มัชฌิมเลขคณิต (X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson, s product moment correration coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะของผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 2 อยู่ในระดับมาก
2. การปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
กาญจนบุรี เขต 2 อยู่ในระดับมาก
3. สมรรถนะของผู้บริหารกับการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 มีความสัมพันธ์กันสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ADMINISTRATOR COMPETENCY AND EDUCATION PROFESSIONAL STANDARDS
PERFORMANCE OF TEACHER IN SCHOOL UNDER KANCHANABURI PRIMARY
EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
The purposes of this research were to determine 1. the administrator competency in school under Kanchanaburi Primary Educational Service Area office 2 2. the educational profession teachers standard performance in schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 2 3. the relationship between the administrator competency and the educational profession teachers standard performance in schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area office 2.The samples were from 81 schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 2.The respondents were school administrators, teachers, and Board of Basic Education, in the total of 324 persons. The research instrument was questionnaire concerning administrator competency based on the Office of the Teacher Civil Service and Educational Personnel Commission’s guidelines and procedures and the educational profession teachers standard performance under the Teacher’s Council of Thailand’s concept. The statistical used to analyze the data were frequencies, percentage, Standard Deviation, and the Pearso’s product moment correlation coefficient.
The findings were as follows :
1. The administrator competency of schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 2, as a whole and as an individual aspect, was at a high level.
2. The educational profession teachers standard performance in schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 2, as a whole and as an individual aspect, was at a high level.
3. There was the significant relationship between the administrator competency and the educational profession teachers standard performance in schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area office 2 at .01 level of statistical significance.