การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1

ผู้แต่ง

  • วิภาดา ทองรอด สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นุชนรา รัตนศิระประภา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1 2) การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1 โดยใช้สถานศึกษาเป็นหน่วยวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียน 51โรง ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 4 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาและพนักงานครู รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 204 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) มัชฌิมเลขคณิต (arithmetic mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด

2. การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1โดยภาพรวมและ
รายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด

3. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

SCHOOL BASED MANAGEMENT AND LEARNING EXPERIENCE FOR EARLY CHILDHOOD
IN MUNICIPAL SCHOOLS OF LOCAL EDUCATION GROUP I

The purpose of this research were to determine 1)school Based Management of the municipal schools of local education group 1 2) learning experiences for early childhood of the municipal schools of local education group1 and 3) correlations between school based management and learning experiences for early childhood in the municipal schools of local education group1. The samples were 51 municipal schools of local education group1. The respondents of each school were; a School Administrator, a Deputy School Administrator and teachers. The research instrument was a questionnaire based on the school based management under the Office of Education Council’s concept and theoretical conceptual frameworks of curriculum educated early childhood on the learning experiences for early childhood. The statistics used in data analyzing were frequencies, percentage, middle, standard deviation, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient.

The findings were as follows;

1. The school based management of the municipal schools of local education group 1, as a whole and as an individual aspect, was at the highest level.

2. The learning experiences for early childhood of the municipal schools of local education group1, as a whole and as an individual aspect, was at the highest level.

3. There were correlations in the moderate level between school based management and learning experiences for early childhood of the municipal schools of local education group1 at 0.1 level of the statistical significanc.

 


Downloads