อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2

Main Article Content

เจติยา ดากระบุตร
สำเริง อ่อนสัมพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 2) การทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 และ 3) อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 จำนวน 103 โรงเรียนผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 4 คน รวม 412 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับอำนาจของผู้บริหารตามแนวคิดของเชอเมอฮอร์น (Schermerhorn) และการทำงานเป็นทีมของครูตามแนวคิดของรอบบินส์และโคลเตอร์ (Robbins and Coulter) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ทุกอำนาจอยู่ใน
ระดับมาก โดยอำนาจเชี่ยวชาญมีค่ามัชฌิมเลขคณิตสูงสุด

2. การทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและราย
ด้านอยู่ในระดับมาก

3. อำนาจการให้รางวัล อำนาจตามกฎหมาย และอำนาจความเชี่ยวชาญ ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

SCHOOL ADMINISTRATORS’ POWER AFFECTING TEAM WORK OF TEACHERS
UNDER SUPHANBURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

The purposes of this research were to identify 1) the school administrators’ power under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2, 2) the team work of teachers under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2, and 3) the school administrators’ power affecting team work of teachers under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2. The samples used in research were 103 schools under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2. There were 4 respondents from each school; with the total of 412. The research instrument was a questionnaire concerning school administrator’s power based on Schermerhorn’s viewpoint and team work of teachers based on Robbins and Coulter’s viewpoint. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis.

The findings revealed as follows.

1. The school administrators’ power under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2 , was found at a high level in all power bases, especially expert power was found having the highest arithmetic mean.

2. The team work of teachers under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2, as a whole and as an individual, was found at a high level.

3. Reward power, referent power, and legal power affecting the team work of teachers under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 2, at .01 level of significance.

 


Article Details

บท
บทความวิจัย