ตัวบ่งชี้สากลของการนิเทศโรงเรียน

Main Article Content

จิรัชญา พัดศรีเรือง
นพดล เจนอักษร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ตัวบ่งชี้สากลของการนิเทศโรงเรียน 2) ยืนยันองค์ประกอบตัวบ่งชี้สากลของการนิเทศโรงเรียน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาค้นคว้าตัวแปรที่เกี่ยวกับตัวบ่งชี้สากลของการนิเทศโรงเรียน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาเครื่องมือและการจัดเก็บข้อมูล และขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลและการยืนยันความเหมาะสมขององค์ประกอบและรูปแบบที่ได้จากการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยผู้เชี่ยวชาญกลุ่มตัวอย่างและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยโรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวน 217 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ที่รับผิดชอบด้านการนิเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับตัวบ่งชี้สากลของการนิเทศโรงเรียน 3) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. ตัวบ่งชี้สากลของการนิเทศโรงเรียน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียน
การสอน 2) การส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน 3) การสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนา 4) การบริหารจัดการระบบงาน 5) การพัฒนาระบบการนิเทศภายใน 6) การบริหารการเงินและงบประมาณ และ 7) การบริหารบุคลากรแบบมีส่วนร่วม

2. การยืนยันตัวบ่งชี้สากลของการนิเทศโรงเรียน พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์ และ
ถูกต้องครอบคลุม สอดคล้องกับกรอบแนวคิดทฤษฎีการวิจัย

INTERNATIONAL INDICATORS OF SCHOOL SUPERVISION

The purposes of this research were to determine : 1) the components of international indicators of school supervision 2) the confirmation of international indicators of school supervision. Its procedure included : 1) studying the variable concerning the international indicators 2) developing instrument and data collection and 3) analyzing data and confirming of international indicators of school supervision from statistical analyses. Sample and instruments used in the research included :1) 7 specialists and related persons by semi-structured interviews; 2) 217 basic education schools and the respondents were school directors and person in charge of supervision by using questionnaires ; and 3) 5 specialists by using opinionnaire. The statistical used for analyzing the data were frequencies, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis and content analysis.

The findings of this research were as follow:

1.The components of the international indicators of school supervision were 1) Developing curriculum and education administration 2) Enhancing learner development 3) Building school network 4) School system development 5) Developing the external school supervision system 6) Financial management and budgeting, and 7) Participatory management personnel

2.The confirmation of international indicators of school supervision was found propriety,feasibility,utility and accuracy with the theory, principles and concept of the research.

 


Article Details

บท
บทความวิจัย