การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับขวัญในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2

Main Article Content

วัชรินทร์ เหลืองนวล
นุชนรา รัตนศิระประภา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 2) ขวัญในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 และ 3) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับขวัญในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 2 จำนวน 113 แห่ง มีผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน และครู รวมทั้งสิ้น 452 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น เกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวคิดของ จอห์นสัน และจอห์นสัน (Johnson and Johnson) และขวัญในการปฏิบัติงานของครู ตามแนวคิดของเบนท์เลย์ และแรมเพล (Bentley and Rempel) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ใช้ทุกรูปแบบ แต่ละรูปแบบอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การประนีประนอม การไกล่เกลี่ย การเผชิญหน้า การถอนตัว และการใช้อำนาจ

2. ขวัญในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

3. การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาทุกแบบกับขวัญในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

CONFLICT MANAGEMENT OF SCHOOL ADMINISTRATORS AND TEACHER’S MORALE UNDER RATCHABURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

The purposes of this study were to determine 1) the conflict management of school administrators under Ratchaburi
Primary Educational Service Area Office 2, 2) the teacher’s morale under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2, and 3) the relationship between the conflict management of school administrators and the teacher’s morale under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2. The sample was 113 schools under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2. The respondents in each school were; an administrator, an assistant of administrator or a representative
and 2 teachers, totally 452 respondents. The research instrument was a questionnaire based on conflict management of school administrators according to Johnson and Johnson’s concept and teacher’s morale according to Bentley and Rempel’s concept. The statistical analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and Pearson’s product – moment correlation coefficient.

The results of this research were as follows :

1. The conflict management of school administrators under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2, was 5 model and each model was at a high level, which ranking from high to low arithmetic mean as follows; compromising, smoothing, confronting, withdrawing and forcing.

2. The teacher’s morale under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2, as a whole, was at a high level.

3. The 5 model of the conflict management of school administrators and the teacher’s morale under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2 was related at .01 of significance.

Article Details

บท
บทความวิจัย