แนวทางการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการครูโรงเรียนอนุบาลวัดลูกแกประชาชนูทิศ

ผู้แต่ง

  • พงศกร แว่นแก้ว นักศึกษาสาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • มัทนา วังถนอมศักดิ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ความผูกพันต่อองค์กร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการครูโรงเรียนอนุบาล  วัดลูกแกประชาชนูทิศ 2) แนวทางการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการครูโรงเรียอนุบาล      วัดลูกแกประชาชนูทิศ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูโรงเรียนอนุบาลวัดลูกแกประชาชนูทิศจำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ              ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. ความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการครูโรงเรียนอนุบาลวัดลูกแกประชาชนูทิศ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยสามารถเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิต จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความเต็มใจที่จะทุ่มเทพยายามปฏิบัติงานเพื่อองค์กร ด้านความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าที่จะยอมรับเป้าหมาย และค่านิยมขององค์กร และด้านความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะรักษาความเป็นสมาชิกขององค์กรตามลำดับ
  2. แนวทางการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการครูโรงเรียนอนุบาลวัดลูกแกประชาชนูทิศ ประกอบด้วย 1) ด้านความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าที่จะยอมรับเป้าหมาย และค่านิยมขององค์กร มีการให้ข้าราชการครูมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน มีการให้คำแนะนำความเกี่ยวกับค่านิยม และวัฒนธรรมอันดีของโรงเรียนส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิผลมากขึ้น เป็นแรงผลักดันในการทำงาน การสร้างทัศนคติที่ดี ในโรงเรียน เกิดความภาคภูมิใจในโรงเรียน 2) ด้านความเต็มใจที่จะทุ่มเทพยายามปฏิบัติงานเพื่อองค์กร มีการทำงานโดยผลัดเปลี่ยนหน้าที่กันเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม มีการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน การให้รางวัล และคำชมเชย เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ 3) ด้านความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะรักษาความเป็นสมาชิก ขององค์กรมีการให้ความสำคัญกับข้าราชการครูทุกคนทั้งในเรื่องของการทำงาน และเรื่องชีวิตส่วนตัว        คอยดูแลแสดงความเป็นห่วงครูช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การจัดกิจกรรมสัมพันธ์กับข้าราชการครูจะช่วยสร้างความผูกพัน และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันได้

คำสำคัญ : ความผูกพันต่อองค์กร

References

ธีรพงษ์ บุญรักษา. การปฏิบัติตัวของผู้นำที่มีผลต่อการสร้างความผูกพันในองค์กรของบุคลากร. เข้าถึง

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565, เข้าถึงได้จากเว็บไซต์ http://www.d4.co.th

วิลาวรรณ รพีไพศาล. การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วิจิตรหัตถกร, 2556.

สุพจน์ นาคสวัวดิ์. การสำรวจความผูกพันในการทำงานของพนักงาน.กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เช็นเตอร์, 2559.

สมยศ นาวีการ. ทฤษฎีองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : บรรณกิจ 1991 จำกัด, 2556.

Best W. John. Research in Education. 4th ed. New Jersey: Prentice-Hall,Inc., 1981.

Krejcie V. Robert and Morgan W. Daryle. Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological measurement 30, 1970.

Likert Rensis. New Pattern of Management. New York: McGraw – Hill Book Company, 1961.

Mowday T. Richrday, Steers M. Richard, and Porter W. Lyman.“The measurement of

organizational commitment.” Journal of Vocational Behavior 14, no.2 (April 1979).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/31/2023