ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนวัดตะคร้ำเอน
คำสำคัญ:
ทักษะการบริหารของผู้บริหารบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบ 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนวัดตะคร้ำเอน และ 2) แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนวัดตะคร้ำเอน ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนวัดตะคร้ำเอน ตามแนวคิดของเดรคและโรว์ ประกอบด้วย ทักษะด้านความรู้ความคิด ทักษะด้านเทคนิค ทักษะด้านการศึกษาและการสอน ทักษะด้านมนุษย์ และทักษะด้านมโนทัศน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนวัดตะคร้ำเอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ทักษะด้านมนุษย์ ทักษะด้านมโนทัศน์ ทักษะด้านความรู้ความคิด ทักษะด้านการศึกษาและการสอน และทักษะด้านเทคนิค ตามลำดับ
2. แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนวัดตะคร้ำเอน มีดังนี้ 1) ทักษะด้านความรู้ความคิด ผู้บริหารมีการศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ และมีรูปแบบวิธีความคิดที่หลากหลาย นำมาปรับใช้วางแผน กำหนดทิศทางและแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม 2) ทักษะด้านเทคนิค ผู้บริหารต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการบริหาร การจัดการทรัพยากรได้เพียงพอ ใช้เทคนิคที่หลากหลาย เหมาะสมกับบริบทขององค์กร 3) ทักษะด้านการศึกษาและการสอน ผู้บริหารจะต้องเข้าใจพื้นฐานของการศึกษา เรียนรู้ทักษะและกระบวนการจัดการศึกษา ใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษา สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน 4) ทักษะด้านมนุษย์ ผู้บริหารควรสร้างความสัมพันธ์ในการร่วมงานกับผู้อื่น มีการประสานสัมพันธ์ วางงานได้ตรงกับความรับผิดชอบ เข้าใจในบริบทของการทำงานของแต่ละบุคคล และนำสิ่งที่แตกต่างมาปรับเข้าหากัน 5) ทักษะด้านมโนทัศน์ ผู้บริหารเข้ารับการพัฒนาตนเองอยู่เสมอในรูปแบบต่าง ๆ มีการวิเคราะห์ภาพรวมของสถานศึกษา มีนโยบายพัฒนาสถานศึกษาอย่างมองการณ์ไกล วางแผนตามเป้าหมายของนโยบายต่าง ๆ อย่างเหมาะสม จัดระบบงานของสถานศึกษาให้สัมพันธ์กันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
ธีรศักดิ์ อุปรมัย อุปไมยอธิชัย และสุุชาติ บางวิเศษ. (2563). การบริหารและการจัดการศึกษาสู่การพัฒนา
ที่ยั่งยืน. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปณิดา ใจดี. (2562). “ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลบ้านแพ้ว (วันครู 2500).” การค้นคว้า
อิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศรัญญา น้อยพิมาย. (2562). “ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญบุรี.
สุดารัตน์ เหมาะสมาน. (2561). “การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหา
บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สุภาพร เหล่าทรัพย์เจริญ. (2556). “ทักษะการบริหารของผู้บริหารกับความเป็นองค์การนวัตกรรมใน
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2.”
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวิทย์ สงรัมย์. (2562). “การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
Best, John W. (1983). Research in Education. 4th ed. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.
Drake, Thelbert L. and William H. Roe.(1986). The Principalship. 3rd ed. New York:
Macmillan.
Kearns, Kevin P. (2015). “Leadership skills as construed by nonprofit chief executive.”
Leadership & Organization Development Journal 36, 6 (March): 712-727.
Leitwood, Kenneth A. and Deborah J. Montgomery. (1986). Improving Principal
Effectiveness: The Principal Profile. Toronto: OISE Press.
Likert, Rensis.(1967). The Human Organization: Its Management and Value. New York:
McGraw-Hill.
Motafa, Afshari, Honari Habib, Qafouri Farzard, and Jabari Nahid. (2012). “Prioritizing
Managerial Skill Based on Katz’ Theory in Physical Education office of Universities in
Iran.” World Applied Sciences Journal 20, 3: 388-394.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.