แนวทางการเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

Main Article Content

เบ็ญจวรรณ สินณรงค์
นพดล เจนอักษร

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตบ้านบ่อ 2) แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตบ้านบ่อ โดยศึกษาประชากร คือ โรงเรียนในสหวิทยาเขต จำนวน 10 โรง ในแต่ละโรงกำหนดผู้ให้ข้อมูล 4 คน คือ ผู้บริหารโรงเรียน 1 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผู้เป็นผู้แทนครู 1 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 1 คน และครู  1 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน โดยใช้ผู้ให้ข้อมูลเป็นหน่วยวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับการเจรจาต่อรองตามผลการวิจัยของสุคนธ์ มณีรัตน์ 2) แบบสอบถามปลายเปิดสำหรับแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการเจรจาต่อรอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า


  1. การเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตบ้านบ่อ โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน โดยเรียงมัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบุคลิกภาพของผู้เจรจาต่อรอง ด้านการวางแผนการเจรจาต่อรอง ด้านการติดต่อสื่อสารในการเจรจาต่อรอง และด้านกลยุทธ์การเจรจาต่อรอง อยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน คือ ด้านประสิทธิผลในการเจรจาต่อรองและด้านความสัมพันธ์ในการเจรจาต่อรอง

  2. แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตบ้านบ่อ พบว่า ด้านกลยุทธ์ในการเจรจาต่อรอง มีการส่งเสริมโดยสร้างทางเลือกที่เป็นประโยชน์ การพัฒนาต้องปรับข้อขัดแย้งให้เป็นข้อตกลงให้ได้ ด้านการวางแผนการเจรจาต่อรอง มีการส่งเสริมโดยการเป็นผู้มองบวก คิดบวก สนใจประเด็นในการเจรจา การพัฒนาควรมีการวางแผนในการเจรจาทุกครั้ง การติดต่อสื่อสารในการเจรจาต่อรอง มีการส่งเสริมโดยรับฟังความคิดเห็น มองถึงประโยชน์ของส่วนรวม การพัฒนาควรคำนึงถึงความต้องการของคู่เจรจา บุคลิกภาพของผู้เจรจาต่อรอง มีการส่งเสริมโดยการสร้างสัมพันธภาพและวางแผนในการใช้เทคนิคของการเจรจาได้ ด้านความสัมพันธ์ในการเจรจาต่อรอง มีการพัฒนาโดยผู้เจรจารู้จักการให้และการรับ ด้านประสิทธิผลของการเจรจาต่อรอง มีการส่งเสริมโดยการให้ผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่าเจรจาต่อรองกับผู้ที่มีตำแหน่งต่ำกว่า การพัฒนาโดยการมอบหมายการเจรจาต่อรองกับผู้ที่มีความเหมาะสมกว่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล.พฤติกรรมองค์การและการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยู

เคชั่น,2562.

เขตตรวจราชการที่ 17.รายงานผลการตรวจราชการและการติดตามประเมินผลการจัดการ

ศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการกรณีปกติ รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.

เขตตรวจราชการที่ 17” เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2564.เข้าถึงได้จาก

http://www.Reo17.Moe.Go.Th/File/Inspection_Report64_R2/

Summary.PdfFbclid=Iwar2es1bp8gnfkq5rskuf0agjbjwdvyfcq55lll

b7zaqek1sag1ns7vy0g

จิรัฐ ชวนชม. การจัดการความขัดแย้งและการเจรจาต่อรองในองค์กร.พิมพ์ครั้งที่ 1.

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564.

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2562.

พงศ์ทัศ วนิชานันท์.การศึกษาพื้นฐานในยุค โควิด-19: จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร?.เข้าถึง

เมื่อ 10 ตุลาคม 2564.เข้าถึงได้จาก https://Tdri.Or.Th/2020/05/Basic-

Education-in-Covid-19-Crisis-Reopening-School-after-

Lockdown/.

พริษฐ์ วัชรสินธุ และธีรศักดิ์ จิระตราชู.ทางออกการศึกษาไทยยุคโควิด.เข้าถึงเมื่อ 10

ตุลาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://workpointtoday.Com/Covid-

Policy-Lab Education/?Fbclid=Iwar2mto8jmp9opyjscxdazaa8

zv94haa0cvut4cqvk2sknlhk2hsbomlwgv0.

สุคนธ์ มณีรัตน์. "รูปแบบการเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนสาธิต." วิทยานิพนธ์

ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยศิลปากร,2558.

Fred C. Lunenburg. and Allan C. Ornstein. Educational Administration:

Concepts and Practices 7th. SAGE: Publications, 2020.

John W. Best. Research in Education.Englewood Cliffs: Prentice-Hall,

Inc.,1970.

Rensis Likert.The Human Organization.New York: Mc-Hill, 1967.