การจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • อมเรศ ชาตรูปะชีวิน มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สายสุดา เตียเจริญ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การจัดระบบสารสนเทศ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย 2) แนวทางการพัฒนาการจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา
4 คน และครู 104 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามความคิดเห็น และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ ด้านการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศด้านการประมวลผลข้อมูล ด้านการรวบรวมข้อมูล และด้านการตรวจสอบข้อมูล ตามลำดับ
  1. แนวทางการพัฒนาการจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย ประกอบด้วย 1) ด้านการรวบรวมข้อมูล สถานศึกษาควรมีการวางแผน กำหนดแนวปฏิบัติ วิธีการหรือรูปแบบในการรวบรวมข้อมูล และจัดอบรมหรือให้ความรู้แก่ผู้ที่รับผิดชอบ 2) ด้านการตรวจสอบข้อมูล
    ควรกำหนดผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบข้อมูลที่ชัดเจน และจัดทำคู่มือเกี่ยวกับการดำเนินการตรวจสอบข้อมูล ที่มีระเบียบแบบแผน 3) ด้านประมวลผลข้อมูล ควรมีการพัฒนาหรือจัดหาเครื่องมือ นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการประมวลผลข้อมูล และกำกับ ติดตาม และประเมินผลการประมวลผลข้อมูล 4) ด้านการนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ ควรปรับวิธีการนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศในรูปแบบที่หลากหลาย และเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลและสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ 5) ด้านการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ ควรมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ที่ฐานข้อมูลส่วนกลาง สามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้อยู่เสมอ และมีการตรวจสอบและป้องกันการแก้ไขข้อมูลจากผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง โดยการกำหนดรหัสในการเข้าใช้

References

เอกสารอ้างอิง

ชาติชาย ทนะขว้าง,(2558) “การจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37,” Veridian EJournal ปีที่ 8, ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน): 796-798.

พิทยพันธ์ พวงเดช, (2561)“การจัดระบบสารสนเทศในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1,” (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร), 61.

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล, (2563) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ.2563–2565), (กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล), 9.

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์, (2559) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559–2561), (กรุงเทพฯ: ไอดี ออล ดิจิตอล พริ้นท์), 4.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,(2560) ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). 2560.

สุนันทา หาผลดี, (2557) “แนวทางการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารของโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31,” (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา), 101.

อัมรา กัลปะ,(2561) “การจัดระบบสารสนเทศในโรงเรียนวัดหวายเหนียว “ปุญสิริวิทยา,” (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร), 68.

Krejcie R.V. and D.W. Morgan,(1970) “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement 30 : 608.

Rensis Likert, (1961) New Pattern of Management (New York: McGraw – Hill Book Company), 74.

John W. Best, Research in Education, 4th ed. (Englewood cliffs : Prentice Hall, Inc., 1983), 190.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02/06/2024