การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์

ผู้แต่ง

  • ณัฐกานต์ รักษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สายสุดา เตียเจริญ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ และ 2) แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 5 คน และครูผู้สอน จำนวน 87 คน รวมทั้งสิ้น 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 1 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และอยู่ในระดับมาก จำนวน 4 ด้าน เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการส่งเสริมและพัฒนา ด้านการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา ด้านการคัดกรอง และด้านการส่งต่อ
  2. แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ พบว่า 1) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล สถานศึกษาควรจัดทำแบบบันทึกและรายงานผลการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลในภาพรวมแบบรายห้องหรือระดับชั้นเรียน 2) ด้านการคัดกรอง สถานศึกษาควรมีการคัดกรองนักเรียนเพิ่มอีก 1 กลุ่ม คือ กลุ่มความสามารถพิเศษ 3) ด้านการส่งเสริมและพัฒนา สถานศึกษาควรมีการจัดกิจกรรมในรูปแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ให้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และครอบคลุมนักเรียนทุกกลุ่ม อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง 4) ด้านการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา สถานศึกษาควรเพิ่มบทบาทของครูแนะแนวในการดำเนินกิจกรรม และ 5) ด้านการส่งต่อ สถานศึกษาควรมีการชี้แจงและสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียนและผู้ปกครองยอมรับถึงเหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ที่ได้รับจากการส่งต่อนักเรียนไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

References

ภาษาไทย

พรเพ็ญ จิระณัฐวีรกุล. “การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย.”

การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2561.

พูลสิน เทียมตรี. “สภาพปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการบริหาร การศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2559.

โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์. “รายงานการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2562.” เมษายน 2563.

วุฒิพงษ์ พันทิวา. “สภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของ

โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21.” วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต สาขาการ

บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2563.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: ไม่ปรากฏ

สำนักพิมพ์, 2562.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. “ระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน.” เอกสารหลักสูตรอบรมแบบ e-Training หลักสูตรระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, 2558.

สุจิตรา ช่วงโชติ. “ปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนระยอง

ปัญญานุกูล สังกัดสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ.” งานนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 2556.

สุธิดา พงษ์สวัสดิ์. “การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชะอำคุณหญิงเนื่องบุรี.” การ

ค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย ศิลปากร, 2561.

ภาษาต่างประเทศ

Best, J. W. Research in Education. 4th ed. New Jersey: Prentice-Hall Inc., 1983.

Likert Rensis. New Pattern of Management. New York: McGraw – Hill Book Company, 1961.

Lunenburg Fred C. and Allan C. Ornstein. Educational Administration: Concepts and Practices. 6th ed. CA : Wadsworth Cengage Learning, 2012.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11/27/2023