การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนวัดจันทราวาส (ศุขประสารราษฎร์)

Main Article Content

อวัศยา แสงทอง
นุชนรา รัตนศิระประภา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนวัดจันทราวาส (ศุขประสารราษฎร์) 2) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนวัดจันทราวาส (ศุขประสารราษฎร์) กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรโรงเรียนวัดจันทราวาส (ศุขประสารราษฎร์) จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนวัดจันทราวาส (ศุขประสารราษฎร์) โดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก สามารถเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ ด้านการเลือกเนื้อหาสาระ ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ ด้านการจัดเนื้อหาสาระ ด้านการสำรวจความต้องการ ด้านการประเมินผลและวิธีการประเมินผล และด้านการกำหนดวัตถุประสงค์

  2. 2. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนวัดจันทราวาส (ศุขประสารราษฎร์)           มี 19 แนวทาง สามารถสรุปได้ ดังนี้ สำรวจความต้องการของชุมชมและผู้เรียน จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อวิเคราะห์บริบทของชุมชน จัดตั้งคณะทำงานและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ จัดอบรมครูเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์และจัดทำหลักสูตรโดยให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน และพัฒนาการของผู้เรียน กำหนดโครงสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม จัดทำหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอนที่เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน มีวิชาเลือกเสรีและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลายเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าร่วมตามความถนัดและ ความสนใจ จัดครูเข้าสอนตรงตามสาขาวิชาเอกและพัฒนาการสอนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน จัดให้มีสื่อและเทคโนโลยีที่เพียงพอ ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูสร้างและพัฒนาสื่อ และจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ จัดอบรมการออกแบบวิธีการวัดและประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กลุ่มบริหารวิชาการ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม. (2562). “การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี”. นนทบุรี.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ม.ป.ป.). การบริหารหลักสูตร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลี จางจูม. (2555). “การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25”. การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

น้ำอ้อย สุขเสนา. (2560). “การศึกษาการพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ.” งานวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

พรนัชชา ราชคม. (2557). “การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเชียงราย.

ภัทรา โง้วอมราภรณ์. (2557). “การศึกษาการพัฒนาหลักสูตรและงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนที่ได้รับรางวัลพระราชทาน,” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

รังสันต์ โยศรีคุณ. (2556). “การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ,” สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราช วิทยาลัย.

สงกรานต์ เรืองประทีป. (2559). “การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ภาษาต่างประเทศ

Best, J. W. (1983). Research in Education. 4th ed. Englewood cliffs: Prentice Hall. Inc.

Cronbach, Lee. (1974). Essentials of psychology Testing, 3th ed. New York: Harper & Row Publishers.

Likert, Rensis. (1961). New Pattern of Management New York: McGraw – Hill Book Company.

Taba, Hilda. (1962). Curriculum Development : Theory and Practice. New York: Harcourt Brace & world.