ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี

Main Article Content

อภิสิทธิ์ เครือสา
วรกาญจน์ สุขสดเขียว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี 2) เพื่อทราบแนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี จำนวน 86 คน และผู้ให้ข้อมูล จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การ 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อทราบแนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์การ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก สามารถเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความเต็มใจที่จะทุ่มเทพยายามปฏิบัติงานเพื่อองค์การ ด้านความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าที่จะยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ และด้านความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะรักษาความเป็นสมาชิกภาพขององค์การ

  2. แนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี ประกอบ 11 วิธีการ ดังนี้ 1) การกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และแผนการปฏิบัติงานจากฝ่ายบริหารที่ชัดเจน และมีการกำกับติดตามอย่างมีประสิทธิภาพ 2) การใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมภายในองค์การ และการเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและลงมือปฏิบัติของฝ่ายบริหาร 3) การสนับสนุน ยกย่องชมเชย และให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ 4) การสร้างกิจกรรมหรือพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้บุคลากรในองค์การได้มีโอกาสเรียนรู้และซึมซับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ 5) การสร้างความตระหนักและคุณค่าให้กับบุคลากรในฐานะที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนองค์การ และทำการทำงานเพื่อส่วนรวม 6) การจัดสรรบุคคลให้เหมาะสมกับงานตามความสามารถ ประสบการณ์ ทักษะและความสามารถพิเศษของบุคลากรแต่ละบุคคล
    และเพียงพอกับลักษณะและปริมาณของงานในส่วนต่าง ๆ 7) การกำกับติดตามผ่านสายงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้รับทราบและติดตามผลการดำเนินงานของงานต่าง ๆ ในองค์การ 8) ควรส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันภายในองค์การ และรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรในองค์การ 9) เปิดโอกาสให้บุคลากรในองค์การได้มีโอกาสทำความรู้จัก หรือสร้างความสัมพันธภาพระหว่างกันผ่านกิจกรรมต่าง ๆ 10) การสนับสนุนให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน และ 11) การสร้างเครือข่ายกับชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และหน่วยงานภายนอก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ

Abstract


          The purpose of this research were to find: 1) the organizational commitment of personnel in Kanaratbamrungpathumthani School and 2) the guidelines for create an organizational commitment of personnel in Kanaratbamrungpathumthani School. The samples were 82 personnel in Kanaratbamrungpathumthani School and informants were 5 personnel: school director 1 personnel, deputy school director 1 personnel and senior professional level teachers 3 personnel which they work in the organization more than 5 years. The instrument used in this research were to 1) questionnaire on organizational commitment 2) structured Interview on guidelines for create an organizational commitment. The statistical used were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and content analysis.


          The finding of research were as follows:


  1. The organizational commitment of personnel in Kanaratbamrungpathumthani
    School, overall and individual, was found at a high level. In order regarding arithmetic means and standard deviation from maximum to minimum were as follow; a willingness to exert considerable effort on behalf of the organization, a strong belief in and acceptance of the organization's goals and values and a strong desire to maintain membership in the organization.

  2. The guidelines for create an organizational commitment of personnel in Kanaratbamrungpathumthani School were as follows 11 methods: 1) Clear policy, goals and action plan from administration and effective monitoring. 2) Applying the participative management and participating in the organization. 3) Supporting, complimenting and giving fair compensation. 4) Creating activities or space for learn and absorb the goals and values of the organization. 5) Raising awareness of value to personnel as an important for organizational development and work for the benefit of all. 6) Recruit an personnel to appropriate for job description, abilities, experiences, skills and special abilities of each individual personnel. 7) Systematic supervision and follow-up for monitor and evaluation. 8) Promote to create an organizational culture. 9) Provide opportunities for personnel to create relationship in organization. 10) Supporting to good quality of life, career advancement, fair compensation and morale in work. and 11) Networking with the community stakeholder and external organization to promote and support effective operations.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล และชัยรัตน์ ประเสริฐล้ำ. การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่องค์การสุขภาวะ. เข้าถึงเมื่อ 14 มกราคม 2564. เข้าถึงได้จาก http://61.19.238.50/journal/data/8-1/8-1-23.pdf.

โชติ บดีรัฐ. เทคนิคการบริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2561.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ สิบสอง (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2559.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2559.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค, 2560.

Best, J. W. Research in Education. 4th ed. New Jersey: Prentice-Hall Inc., 1981.

Cronbach, L. J. Essential of Psychological Testing. 3rd ed. New York Herper & Row Publishers, 1978.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. "Determining Sample Size for Research Activities." Educational and Psychological Measurement 30, no. 3 (September 1, 1970).

Likert, Rensis. The Human Organization. New Yok: McGraw–Hill, 1963.

Mowday, R. T., Steers, R. M. and Porter, L. W. "The Measurement of Organizational Commitment." Journal of Vocational Behavior 14, no. 2 (1979).

Schappe, S. P. "The Influence of Job Satisfaction, Organization Commitment, and Famines Perceptions or Organizational Citizenship Behavior." Journal of Applied Psychology 132, no. 3 (1988).