คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลบางกรวย (วัดศรีประวัติ)
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตการทำงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนอนุบาลบางกรวย (วัดศรีประวัติ) 2) แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนอนุบาลบางกรวย
(วัดศรีประวัติ) ประชากร คือ ข้าราชการครูและบุคลากรในโรงเรียนอนุบาลบางกรวย (วัดศรีประวัติ) ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน ข้าราชการครู25 คน และครูอัตราจ้าง 9 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามความคิดเห็น และการสนทนากลุ่มย่อย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละมัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนอนุบาลบางกรวย (วัดศรีประวัติ) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านสังคม ด้านการทำงาน ด้านส่วนตัว และด้านเศรษฐกิจ
- แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนอนุบาลบางกรวย (วัดศรีประวัติ) ประกอบด้วย 1) ด้านการทำงาน ควรมีการสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และพัฒนาศักยภาพของตนเองในการปฏิบัติงานในสถานศึกษาได้อย่างเต็มที่ 2) ด้านส่วนตัว ควรมีการกระจายภาระงานให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาในปริมาณที่เหมาะสม และตรงตามความสามารถของแต่ละบุคคล 3) ด้านสังคม ควรสนับสนุนให้บุคลากรภายในสถานศึกษามีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน สนับสนุนการทำงานเป็นทีม และให้เกียรติซึ่งกันและกัน 4) ด้านเศรษฐกิจ ควรมีการจัดสวัสดิการให้แก่บุคลากรตามความเหมาะสม สนับสนุนให้มีการเก็บออมของบุคลากรในสถานศึกษา
References
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, (2553 ) “พระราชดำรัสด้าน
การศึกษา”, วารสารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 30, 2 (กรกฎาคม 2553)
รีชา เริงสมุทร์, (2563) การพัฒนาครูคือหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง, เข้าถึง เมื่อ 8
ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก http://www.trueplookpanya.com/true/blog_diary_ detail.php?diary
ปกรณ์ ปรียากร, (2554) นวัตกรรมทางรัฐประศาสตร์: ภาวะท้าทายและการเปลี่ยนแปลง
(กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)
กําชัย เสนากิจ. (2561)“คุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 26.”วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี 15,1 (กรกฎาคม - กันยายน 2561): 245-252.
จินดากานต์ คงเดชาชาญ. (2556) “คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานครูเทศบาลใน สถานศึกษา
สังกัดเทศบาลนครนครปฐม.” วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร 3, 2 (มกราคม - มิถุนายน 2556): 24-32.
วรวิชชา ทองชาวนา.(2560) “แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการพลเรือนตามหลักพุทธธรรม
ในจังหวัดพิจิตร.” วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ 17, 3 (กันยายน - ธันวาคม 2560): 203-210.
อรชา อุดม. (2562)“คุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนวัดหวายเหนียว “ปุญสิริวิทยา” จังหวัด
กาญจนบุรี.” วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร 10, 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม2562): 1005–1017.
John W. Best,(1983) Research in Education, 4th ed. (Englewood cliffs: Prentice Hall, Inc.,),
74.
Rensis Likert,(1961) New Pattern of Management (New York: McGraw – Hill Book
Company),
Richard E. Walton.(1974) “Improving the Quality of Work Life.” Harvard Business
Review. 27. 3 May-June 1974.
Zhang Jijia, Chen Jun and Dong Changteng, (2005) “The Fears of Teachers in Institutions
of Higher Education," Chinese Education & Society 38,5 (October 2005).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.