กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3
คำสำคัญ:
กระบวนการนิเทศภายใน, โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การทำวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 2) เพื่อทราบผลเปรียบเทียบกระบวนการนิเทศภายในที่มีเพศ อายุ วุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ปฏิบัติงาน และวิทยฐานะที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครู จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่าง t-test,F-test และการทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe test) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า
- กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านการปฏิบัติการนิเทศการศึกษา ด้านการวางแผนและการกำหนดทางเลือก ด้านการประเมินผลและรายงานผล ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการพัฒนา ด้านการสร้างสื่อ เครื่องมือและพัฒนาวิธีการ ตามลำดับและมีความคิดเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
- ผลเปรียบเทียบความแตกต่างของสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยเพศ อายุ วุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ปฏิบัติงาน และวิทยฐานะ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 พบว่า สถานภาพด้านอายุ วุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์การปฏิบัติงาน ต่อกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 ไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนสถานภาพด้านเพศ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยมากกว่าเพศชาย และสถานภาพด้านวิทยฐานะ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยวิทยฐานะชำนาญการมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
References
เอกสารอ้างอิง
จุฬารักษ์ โคตรจักร. (2563) “กระบวนการนิเทศการศึกษาในโรงเรียนภัทรญาณวิทยา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9” (มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ, (กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ)
“พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2553” (2553) ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 127 ตอนที่ 45 ก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560,”(2560) ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 34 ตอนที่ 40 ก
สิริขวัญ สุพรรณคง. (2559) “การนิเทศการศึกษาโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1,” (การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัญฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร)
สันติ บุญภิรมย์. (2552) หลักการบริหารการศึกษา, (กรุงเทพฯ: บุ๊คพ้อยท์)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2562).แนวทางการนิเทศบูรณาการโดยใช้พื้นที่เป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่การนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.9-11.
อัมพรกัญ บัวครอง. (2553) “การนิเทศการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนแกนนำการจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2” (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
อิสรนันท์ ศิโรรัตนพาณิชย์. (2559) “การนิเทศในโรงเรียนสกลวิทยา,” (การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัญฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร)
อรพงษ์ อาษาเอื้อ. (2554) “ปัญหาการนิเทศการสอนของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี,” (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา)
Glickman Carl D., Stephen P. Gordon, and Javita Ross M. Gordon. (1995) Supervision Of Instructional : A Developmental Approach. 3rd ed. (Boston: Allyn and Bacon, ).
Rensis Likert, (1961) New Pattern Of Management (New York: McGraw – Hill Book Company)
John W. Best, (1983) Research in Education, 4th ed. (Englewood Cliffs : Prectice Hall, Inc.,)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.