แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานแนะแนวของโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง

Main Article Content

เกรียงไกร นครพงศ์
สงวน อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1. การดำเนินงานแนะแนวของโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง 2. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานแนะแนวของโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง จำนวน 98 คนประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 4 คน และ ครู จำนวน 94 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ
มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การดำเนินงานแนะแนวของโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ 1. การบริการศึกษาและรวบรวมข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล 2. การบริการให้คำปรึกษา 3. การบริการจัดวางตัวบุคคล 4. การบริการสนเทศ 5. การบริการติดตามและประเมินผล

  2. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานแนะแนวของโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง มีหลากหลายแนวทาง ได้แก่ ด้านการบริการสนเทศ ควรมีการจัดตั้งเพจเฟซบุ๊กงานแนะแนวโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง เป็นช่องทางที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการสื่อสารเผยแพร่ข่าวสารที่จำเป็นและทันสมัยแก่นักเรียน ทำให้นักเรียนได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว ถูกต้อง อีกทั้งห้องแนะแนวในโรงเรียนสามารถเป็นแหล่งสืบค้นความรู้ข้อมูลต่าง ๆ แก่นักเรียน ทั้งการบริการหนังสือและคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ด้านการบริการติดตามและประเมินผล การใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ในการติดตามนักเรียนที่ออกเรียนกลางคันมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้งานแนะแนวรู้สาเหตุและปัจจัยสำคัญของการออกกลางคันระหว่างเรียนว่ามีสาเหตุใดเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนในปีการศึกษาถัดไปและสามารถใช้กลุ่มไลน์หรือช่องทางการสื่อสารโซเชียลเป็นเครื่องมือช่วยในการติดตามนักเรียนเหล่านี้รวมถึงนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาเพื่อจัดกิจกรรมให้ศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษามาบอกเล่าประสบการณ์แก่นักเรียนในโรงเรียน โดยทุกปีการศึกษาการสอบถามความคิดเห็นของครูและนักเรียนเกี่ยวกับการบริการงานแนะแนวทุกด้านในใรงเรียนจะเป็นแนวทางสะท้อนการทำงานของงานแนะแนวเพื่อที่งานแนะแนวได้ปรับปรุงการดำเนินงานในปีการศึกษาถัดไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กลุ่มพัฒนาระบบการแนะแนว, แนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนว ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา2019 (กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2563),

พิทักษ์ โสตถยาคม “พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ความหวังใหม่ในการปฏิรูปการศึกษาไทย,” วารสารวิชาการ 22,1 (มกราคม – มีนาคม 2562):5.

จีรภา แสงแก้ว. “คุณลักษณะของผู้บริหารส่งผลต่อการดำเนินงานแนะแนวในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาศิลปากร, 2556.

เจษฎา บุญมาโฮม ,หลักการแนะแนวและการพัฒนาผู้เรียน, พิมพ์ครั้งที่ 4 ( นครปฐม : สไมล์ พริ้นติ้ง & กราฟิกดีไซน์, 2558), 49- 212.

นิรันดร์ จุลทรัพย์. การแนะแนวเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 4 สงขลา : (บริษัทนำศิลป์โฆษณา), 2554.

.การแนะแนวเพื่อพัฒนาผู้เรียน. สงขลา : คณะศึกศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2558.

ธนภร พยัคฆ์ทอง. “การพัฒนาระบบงานแนะแนวโรงเรียนฆ้องชัยวิทยาคม” การค้นคว้าอิสระปริญญา มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสารคาม, 2554.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ,ระบบการแนะแนวในโรงเรียน, (กรุงเทพ :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2559), 6-7.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ระบบการแนะแนวในหลักการบริการแนะแนวและการ

ปรึกษาเชิงจิตวิทยาเบื้องต้นสำหรับครูและผู้บริหารการศึกษา, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2559), 100- 101.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,หลักการบริการแนะแนวและการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาเบื้องต้น สำหรับครูและผู้บริหารการศึกษา, ( กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2559) ,39-41.

สุทัศน์ เดชกุญชร. “รูปแบบการบริหารจัดการงานแนะแนวการศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับสถานศึกษาขั้น

พื้นฐาน จังหวัดปทุมธานี ” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 2561.

อรินทรา อยู่หลาบ, การบริหารกับการดำเนินงานแนะแนวของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

มัธยมศึกษา เขต 9, (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาศิลปากร,2560),130.

อนรรฆ ตปนีย์. “การดำเนินงานแนะแนวของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์” การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559.

อมรรัตน์ สุดใจ. “การจัดบริการการให้คำปรึกษาของงานแนะแนวโรงเรียนหัวหินวิทยาคม”การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.

John W. Best. (1978) Research in Education (Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice – Hall), 190