การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดอุดมรังสี

Main Article Content

ขวัญเนตร มูลทองจาด
นุชนรา รัตนศิระประภา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อทราบ  1) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดอุดมรังสี 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดอุดมรังสี เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ตำแหน่งหน้าที่และประสบการณ์ในตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน และ 3) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดอุดมรังสี กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของโรงเรียนวัดอุดมรังสี จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดอุดมรังสี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

  2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดอุดมรังสี เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ตำแหน่งหน้าที่และประสบการณ์ในตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน พบว่ามีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

  3. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดอุดมรังสี มี 5 แนวทาง เช่น 1) ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลมากขึ้น 2) ควรสร้างแบบประเมินนักเรียนให้มีความหลากหลาย ใช้โปรแกรมประเมินพฤติกรรมนักเรียนมาใช้ในการดำเนินการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน 3) ควรสำรวจความต้องการในการจัดกิจกรรมที่จะสามารถพัฒนาความรู้ ทักษะ และเสริมสร้างประสบการณ์ของนักเรียนให้เต็มตามศักยภาพ 4) ควรจัดการอบรมครูเรื่องเทคนิคการให้คำปรึกษาเบื้องต้น เพื่อสามารถให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น 5) ควรมีการชี้แจงผู้ปกครองให้ทราบถึงถึงเหตุผลที่แท้จริงของการส่งต่อนักเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรัฐิพร จีนสายใจ. (2557). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม (งานค้นคว้าอิสระ

ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร), 107-109.

บุศรินทร์ ประคำมินทร์. (2558). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน อำเภอธาตุพนม จังหวัด

นครพนม, วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ปีที่ 5 (ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม – สิงหาคม 2558), 111.

พรเพ็ญ จิระณัฐวีรกุล. (2562). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย,

วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 10 (ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2562), 326.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134, ตอนที่ 40 ก (6

เมษายน 2560), 14.

ฤทธิ์ธิชัย ภู่สำอางค์. (2563). การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3, วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีที่ 8 (ฉบับที่ 32 กรกฎาคม - กันยายน 2563),13.

วราวุฒิ เหล่าจินดา. (2559). สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์), 125.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 .กรุงเทพฯ: พริกหวาน

กราฟฟิค, 1.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ: โรง

พิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด, 14.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 9.

อดิศร แย่งคุณเชาว์.(2559). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, บทคัดย่อ.

John W. Best. (1981). Research in Education, 4 ed.. Englewood Cliffs: Prentice-Hall, 182.

Lee J. Cronbach. (1974). Essentials of Psychology Testing, 3 ed.. New York: Harper & Row, 161.

Rensis Likert. (1961) New Pattern of Management. New York: McGraw – hill. 74.

Robert V. Krejcie and Daryle W.Morgan. (1970) Determining Sample Size for Research Activities.

Journal for Education and Psychological Measurement 3, no. November. 508.