การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1

Main Article Content

จิรัญญิกา จันทร์ชื่น
ประเสริฐ อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 2) เพื่อทราบแนวทางการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ผู้ให้ข้อมูล คือ 1) ผู้บริหารโรงเรียนและ 2) หัวหน้าการบริหารงานงบประมาณ ของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 รวมทั้งสิ้น 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ตามกรอบมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ด้าน (7 Hurdles) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า


          1. การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีสภาพการบริหารงบประมาณอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ด้านการบริหารทางการเงินและควบคุมงบประมาณ ด้านการตรวจสอบภายใน ด้านการบริหารสินทรัพย์ ด้านการรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน ด้านการวางแผนงบประมาณ และด้านการคำนวณต้นทุนผลผลิต


          2. แนวทางการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 พบว่า 1) ควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนงบประมาณ 2) ควรจัดให้มีการอบรมเกี่ยวกับการคำนวณต้นทุนกิจกรรม เพื่อบุคลากรของโรงเรียนจะได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำและบริหารงบประมาณ 3) ควรมีระบบการจัดซื้อจัดจ้างเป็นขั้นตอน รัดกุม โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ 4) ควรประสานจัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาช่วยเหลือแนะนำ เพื่อให้การบริหารงานทางการเงินและการควบคุมงบประมาณถูกต้องตามมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ 5) ควรมีการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน 6) ทุกภาคส่วนควรตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารสินทรัพย์ 7) ควรแต่งตั้งผู้ตรวจสอบภายในโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะได้นำไปแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาความสำเร็จผลงานการทำงานของโรงเรียนให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย
จารุวรรณ มาแต้ม, “การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1” (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561), 68.
ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ, มาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 Hurdles กับการจัดทำงบประมาณระบบใหม่, พิมพ์ครั้งที่ 7 (กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์, 2544), 1.
แผนพัฒนาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564), เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก http://www.bpp.mua.go.th/main/download/plan/EducationPlan12.pdf
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119, ตอนที่ 123 ก (19 ธันวาคม 2559): 24.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1, รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2562, เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2563, เข้าถึงได้จากhttps://drive.google.com/file/d/1cSiUic5VnsLzw0n0YKTpDHp9YMLDH96U/view
ภาษาอังกฤษ
John W. Best. (1978) Research in Education (Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice – Hall), 190