ผลการใช้กระบวนการวางแผน ปฏิบัติ ทบทวน ตามแนวคิดของไฮสโคปเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง (EF) ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเกษมพิทยา
คำสำคัญ:
แนวคิดไฮสโคป, ทักษะสมอง, เด็กที่มีความต้องการพิเศษบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการวางแผน ปฏิบัติ ทบทวน ตามแนวคิดของไฮสโคปเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง (EF) ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเกษมพิทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเกษมพิทยา เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 6 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากผู้ศึกษาเป็นครูโครงการเรียนรวมที่รับผิดชอบดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษกลุ่มนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1. แผนการจัดกิจกรรมการใช้กระบวนการวางแผน ปฏิบัติ ทบทวน ตามแนวคิดของไฮสโคปเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง (EF) ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษจำนวน 8 แผนกิจกรรม 2. แบบประเมินพฤติกรรมการส่งเสริมทักษะสมอง (EF) ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และ 3. แบบบันทึกพฤติกรรมการส่งเสริมทักษะสมอง (EF) ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สถิติที่ใช้คือ ค่าคะแนนเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าหลังจากการทดลองใช้กระบวนการวางแผน ปฏิบัติ ทบทวน ตามแนวคิดของไฮสโคปเด็กมีคะแนนทักษะสมอง (EF) สูงกว่าก่อนการทดลอง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. 2550. พระราชบัญญัติการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2550 จาก https://www.moe.go.th/พระราชบัญญัติการจัดการ/ เข้าถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2565
กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 4 พ.ศ. 2562 จากhttps://www.moe.go.th/พระราชบัญญัติการจัดการ/ เข้าถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2565.
ฐาปณีย์ แสงสว่าง. 2563. คู่มือการใช้แบบประเมินทักษะทางสมองเพื่อการบริหารจัดการชีวิตสำหรับนักเรียนช่วงรอยเชื่อมต่อปฐมวัยสู่ประถมศึกษา และระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
American Academy of Pediatrics. 2006. The Importance of Play in Promoting Healthy Child Development and Maintain Parent-Child Bonds (Clinical report). Elk Grove Village, IL: Author.
Bodrova, E., and Leong, D. 2007. Tools of the Mind: The Vygotskian Approach to Early Childhood Education. (2nd ed.). New York, NY: Prentice Hall.
Chung, H.J., Lisa L. Weyandt, and A. Swentosky. 2014. The Physiology of Executive Function. In Handbook of Executive Functioning, edited by Sam Goldstein and Jack A. Naglieri, 13-27. 1st ed. New York: Springer New York Heidelberg Dordrecht London.
Diamond, A. 2014. Want to Optimize Executive Functions and cademic Outcomes?: Simple, just nourish the human spirit. In P. D. Zelazo& M. D. Sera (Eds.), Minnesota symposia on child Psychology: Development Cognitive Control Processe: Mechanisms, Implications and Interventions (Vol. 37). NJ: John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์